ระบบสารสนเทศคุณภาพเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บรรพต พิจิตรกำเนิด
วาทิน เฉลิมดำริชัย
วจี ชูกิตติกุล

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคุณภาพเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ (2) ออกแบบตัวแบบสารสารสนเทศคุณภาพ (3) พัฒนาระบบสารสนเทศคุณภาพ และ (4) การยอมรับระบบสารสนเทศคุณภาพเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ ทั้งนี้เริ่มต้นจากการบูรณาการวิธีการคุณภาพ
ซิกซ์ซิกม่า เข้ากับหลักการบริหารผลการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนากระบวนการคุณภาพเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงาน หลังจากนั้นนำกระบวนการคุณภาพที่ได้มาออกแบบตัวแบบสารสนเทศคุณภาพภายใต้ระเบียบ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยใช้หลักการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ในการออกแบบหน้าจอการทำงาน และเสริมประสิทธิภาพของระบบด้วยหลักการยศาสตร์ในสำนักงานไอที โดยทำการศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับต่าง ๆ  ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง 6 คน ผู้บริหารระดับกลาง 29 คน และผู้บริหารระดับปฏิบัติการ 48 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ต้นแบบระบบสารสนเทศคุณภาพฯ และแบบประเมินการยอมรับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคุณภาพเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ ประกอบด้วย วิธีการคุณภาพซิกซ์ซิกม่า หลักการบริหารผลการปฏิบัติงาน ระเบียบ/ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ หลักการยศาสตร์ในสำนักงานไอที มีตัวแบบสารสนเทศคุณภาพสำหรับผู้บริหารระดับสูง 5 ฉบับ ผู้บริหารระดับกลาง 9 ฉบับ และผู้บริหารระดับปฏิบัติการ 32 ฉบับ โดยระบบสารสนเทศคุณภาพเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการที่พัฒนาขึ้นนี้ได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับมากที่สุด

 

 

ABSTRACT

          This research was aimed to (1) analyze the key components of a qualitative information system, (2) design qualitative information models and (3) develop a qualitative information system, and (4) evaluate the acceptance level of such a system for the purposes of performance management of academic staff at Rajabhat Universities in Bangkok. The study began with the integration of the Six-Sigma quality approach with performance management principles to develop a comprehensive quality management performance process. Qualitative information models were then designed under the rules and regulations of Rajabhat University. Following that, qualitative information systems were developed based on the software development life cycle as well as user-interface design and ergonomics in IT office principles. The population and sample group of this research consist of 6 top-level executives, 29 middle managers, and 48 operational managers of Rajabhat Universities in Bangkok. The research tools are the qualitative information system for performance management of academic staff and acceptance questionnaire. Data were analyzed using mean and standard deviation. This research found that the major elements of a solid qualitative information system consist of Six Sigma quality methodology, the principle of performance management, rules and regulations of Rajabhat University, IT, and ergonomics in IT office. There are 5 qualitative information models for top-level executives, 9 for middle management, and 32 for the operational level. The qualitative information system for performance management of academic staff developed from this study is accepted at the highest level from the majority of respondents who have taken part in this research.

Article Details

Section
Research Article