ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิตกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

Authors

  • นฎา งามเหมาะ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นารีรัตน์ จิตรมนตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความเชื่อทางศาสนา, การปฏิบัติทางศาสนา, ความหมายของชีวิต, ภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, religious belief, religious practice, perception of life, gerotranscendence, end-stage chronic renal failure

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิต กับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ ของผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
การดำเนินการวิจัย: โดยใช้กรอบแนวคิดภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของ Tornstam กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล
ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อทางศาสนา การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิต และภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุค่อนไปทางด้านสูง และ พบว่า เพศ อายุ ความเชื่อทางศาสนา การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ ของผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .39, p < .01; r = .48, p < .01; r = .39, p < .01; r = .25, p < .05 และ r = .47, p < .01) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทางสุขภาพในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเข้าสู่พัฒนาการในวัยสูงอายุอย่างมีสติ และรู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และเป็นแนวทางในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุต่อไป

Abstract: Objective: To examine, in terminal chronic renal failure patients, patterns in which basic factors, religious belief, religious practice, perception of life, and gerotranscendence are related.
Design: Descriptive research.
Implementation: The research was conducted based on Tornstam’s concept of Gerotranscendence. The subjects were 85 terminal chronic renal failure patients aged 60 or older. A questionnaire was used as the data-collecting instrument. The data were analysed using descriptive statistics, Pearson’s Correlation Coefficient and Point Biserial Correlation Coefficient.
Results: From the study, the subjects showed a considerably high degree of religious belief, religious practice and gerotranscendence. In addition, sex, age, belief, religious practice and perception of life were found to have a positive relationship to the subjects’ gerotranscendence, at statistically significant levels of r = .39, p < .01; r = .48, p < .01; r = .39, p < .01; r = .25, p < .05 and r = .47, p < .01, respectively.
Recommendations: This study could serve as a guideline for healthcare personnel to encourage terminal chronic renal failure patients to wisely and realistically cope with their old-age physical conditions. This study may also lead to further research on gerotranscendence.

Downloads

How to Cite

1.
งามเหมาะ น, วิโรจน์รัตน์ ว, จิตรมนตรี น. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิตกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2015 Jun. 8 [cited 2024 Mar. 28];30(1):58-71. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/34680