โปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Authors

  • อินทิรา ไพนุพงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • วิภา แซ่เซี้ย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เนตรนภา คู่พันธวี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การจัดการความปวดด้วยการประคบเย็น, การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย, ผลลัพธ์การฟื้นสภาพการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, elderly, ice-pack pain management, self-empowerment exercise activity, recovery from total knee arthroplasty

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การออกแบบวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัด 2 กลุ่มแบบอนุกรมเวลา
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 40 ราย จัดให้เข้ากลุ่มควบคุม จำนวน 20 รายแรก ได้รับการพยาบาลปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง จำนวน 20 รายหลัง ได้รับการจัดการความปวดด้วยการประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายและการพยาบาลปกติเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ตั้งแต่เข้ารับการผ่าตัด จนกระทั่งหลังกลับบ้าน 6 สัปดาห์ ผลลัพธ์การฟื้นสภาพประเมินจากความปวด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการทำกิจกรรมทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า และความสามารถการเดินใน 6 นาที เปรียบเทียบผลลัพธ์การฟื้นสภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและสถิติฟริดแมน เทส (Friedman Test)
ผลการวิจัย: พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมการทดลอง กลุ่มทดลองมี (1) ความปวดภายใน 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วันกลับบ้าน หลังกลับบ้าน 2 สัปดาห์และหลังกลับบ้าน 6 สัปดาห์ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (2) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายขณะรักษาในโรงพยาบาลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (3) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการทำกิจกรรมทางกาย หลังกลับบ้านภายใน 6 สัปดาห์สูงกว่ากลุ่มควบคุม(4) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาและความสามารถในการเดินในระยะเวลา 6 นาทีดีกว่ากลุ่มควบคุม แต่ (5) ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่าไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรนำการจัดการความปวดด้วยการประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้เร็วขึ้น

Abstract: Objective: To examine the impact of combined application of pain management programme and self-empowerment exercise activity on elderly total knee arthroplasty patients’ recovery.
Design: Quasi-experimental research, of a time-series design.
Implementation: The subjects were 40 elderly patients having undergone total knee arthroplasty at a tertiary hospital, 20 assigned to the control group and the others to the experimental group. Those in the control group were given normal care, whilst the patients in the experimental group were given combined treatments consisting of ice-pack pain management, self-empowerment exercise activity and standard care. This combined treatment test was conducted for seven weeks, in the first week after operation and during six weeks of convalescence. After the experiment, each patient’s recovery was measured according to his/her level of pain, perception of physical exercise performance, quadriceps strength, knee-joint movement ability and ability to do a six-minute walk. The recovery results of both groups were compared using repeated measures analysis of variance and Friedman test.
Results: After the experimentation, (i) the degrees of pain within the first 72 hours after operation, on the day of discharge, two weeks after discharge and six weeks after discharge, were lower amongst the experimental group members than amongst their control counterparts; (ii) no significant difference in the degree of perception of physical exercise performance was found between the two groups; (iii) the degree of perception of physical exercise performance at the end of the sixth week of convalescence was significantly higher in the experimental group than in the control; (iv) the experimental group members showed greater quadriceps strength and ability to do a six-minute walk than those in the control did; and (v) both groups, however, displayed similar knee-joint movement ability.
Recommendations: It is recommended that nurses use these combined methods, i.e., ice-pack pain management and self-empowerment exercise activity, to take care of patients having undergone total knee arthroplasty, to accelerate their recovery.

Downloads

How to Cite

1.
ไพนุพงศ์ อ, แซ่เซี้ย ว, คู่พันธวี เ. โปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2015 Jun. 8 [cited 2024 Mar. 29];30(1):99-111. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/34683