ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • จันทร์เพ็ญ หวานคำ โรงพยาบาลลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • ชดช้อย วัฒนะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศิริพร ขัมภลิขิต รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง, ค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดง, ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

Abstract

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

 

     ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการ  การส่งเสริมการจัดการตนเองที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการควบคุมโรค การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระดับอ่อน โรงพยาบาลลืออำนาจจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 40  คน โดยการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองด้านอาหาร  การออกกำลังกายโดยการรำไม้พลองแบบประยุกต์และการใช้ยาที่พัฒนามาจากกรอบแนวคิดการจัดการตนเองของเครียร์ (Creer, 2000) คู่มือการจัดการตนเอง การติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์และการให้คำปรึกษารายบุคคล กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการจัดการตนเอง  (ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างเท่ากับ 0.91 คู่มือการจัดการตนเอง เท่ากับ 0.92)  แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง (ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างเท่ากับ  0.90 ค่าความเชื่อมั่น 0.82) และเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอทแบบตั้งโต๊ะที่ผ่าน การตรวจสอบคุณภาพ  ดำเนินการวิจัยโดยผู้วิจัย เก็บข้อมูลโดยผู้ช่วยวิจัยที่ผ่านการฝึกและทดสอบความถูกต้องกับผู้วิจัย (Kappa = 0.92) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติไคสแคว์และฟิชเชอร์เอ็กแซกท์

     ผลการวิจัยพบว่าภายหลังเข้าร่วมโครงการ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง  สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองมีประสิทธิผลในการส่งเสริมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการควบคุมโรคในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับอ่อน

คำสำคัญ ; โปรแกรมการจัดการตนเอง พฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดง ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง                        

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

หวานคำ จ., วัฒนะ ช., & ขัมภลิขิต ศ. (2015). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Nursing Journal CMU, 42(1), 49–60. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34846