ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ เท้า และปาก ของครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้

Authors

  • แสงดาว เกษตรสุนทร โรงพยาบาลสทิงพระ จังหวัดสงขลา
  • นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การคัดกรองโรคมือ เท้า และปาก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูพี่เลี้ยง

Abstract

                 โรคมือ เท้า และปาก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า  5 ปี เกิดการระบาดได้บ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การคัดกรองเด็กก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีประสิทธิภาพจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคได้ การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย (ทัศนคติต่อพฤติกรรม บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม) ต่อความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ เท้า และปากของครูพี่เลี้ยง ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ 107 แห่ง จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2556  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาอิทธิพลในการทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  

                 เมื่อพิจารณาตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ  เท้า และปาก อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.46 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน)  2) มีทัศนคติต่อพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 11.18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน) เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อยของทฤษฎีพบว่า มีความเชื่อเกี่ยวกับผลการคัดกรองและการประเมินคุณค่าการคัดกรองโรค อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.31 และ 3.36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ตามลำดับ)  3) มีบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย  10.95  คะแนน  จากคะแนนเต็ม 16  คะแนน) เมื่อพิจารณาตาองค์ประกอบย่อยของทฤษฎีพบว่า มีความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงและแรงจูงใจคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.32 และ 3.27 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ตามลำดับ)  4) มีการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 10.47 คะแนน จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน) เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อยของทฤษฎีพบว่า มีความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมและการรับรู้อำนาจในการคัดกรองโรคมือ เท้า และปากอยู่ในระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย 3.20 และ 3.24 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ตามลำดับ)  5) ปัจจัยบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมสามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ เท้า และปาก ของครูพี่เลี้ยงได้ร้อยละ 23.2   (R2 = 0.232,  p<0.001) และ  6)  ปัจจัยการรับรู้อำนาจในการคัดกรองและแรงจูงใจคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงสามารถร่วมกันทำนายความความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ  เท้า และปากของครูพี่เลี้ยงได้ร้อยละ 22  (R2 = 0.220, p<0.01).

                 ผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับทีมสุขภาพหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงการสนับสนุนการคัดกรองโรคมือ เท้า และปาก ของครูพี่เลี้ยง โดยการส่งเสริมให้ครูพี่เลี้ยงมีการรับรู้อำนาจและเกิดแรงจูงใจคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง เพื่อให้ครูพี่เลี้ยงมีความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ เท้า และปาก ต่อไป

 

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

เกษตรสุนทร แ., เกษตร์ภิบาล น., & จิตรีเชื้อ จ. (2015). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือ เท้า และปาก ของครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้. Nursing Journal CMU, 42(1), 74–84. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34848