บทเรียนจาการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • นงเยาว์ อุดมวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พนิดา จันทโสภีพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ดวงฤดี ลาศุขะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กนกพร สุคำวัง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิทยา ยาประเสริฐ
  • สุพรรณ ยาประเสริฐ
  • ธนูเพ็ญพร แก้วกันทะ
  • บัญชาการ พลชมชื่น
  • สกาวรัตน์ สมธรรม
  • อนันต์ แสงบุญ
  • ชัยยุทธ กาญจนสาวิตรี

Keywords:

ถอดบทเรียน, การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ, การมีส่วนร่วม, การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช)

Abstract

                 การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของชุมชนที่ดีและยั่งยืน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ  เจ้าหน้าที่สมาชิกสภาเทศบาล แกนนำชุมชน พระสงฆ์ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตัวแทนประชาชน การวิจัยเชิงพัฒนานี้มี วัตถุประสงค์  1) เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรท้องถิ่น ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันหนุนเสริมอย่างบูรณาการ ให้มีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  2) เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่ให้สามารถจัดการความรู้จากการปฏิบัติในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับตำบล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เจ้าหน้าที่สมาชิกสภาเทศบาล แกนนำพระสงฆ์ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตัวแทนประชาชน การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการสร้างนโยบายสาธารณะเป็นกลยุทธสำคัญสู่การสร้างเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวคำถามเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม ซึ่งคณะผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา        

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรท้องถิ่น ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล  มีการร่วมกันหนุนเสริมอย่างบูรณาการ และมีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  จึงเกิดนโยบายสาธารณในพื้นที่หลายประเด็นได้แก่ 1) นโยบายการพัฒนาทักษะการคัดกรองและให้คำปรึกษากลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด 2) นโยบายการไม่เลี้ยงสุราและงดสิ่งเสพติดทุกชนิดในงานบุญ 3) นโยบายการงดการจุดธูป และ 4)  นโยบายพืชปลอดสารอาหารปลอดภัย 

                สำหรับด้านการพัฒนาศักยภาพแกนนำ ในพื้นที่ให้สามารถจัดการความรู้จากการปฏิบัติจริงและมีผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม พบว่าในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของตำบลชมภูแกนนำเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อน และสามารถจัดการความรู้จากการปฏิบัติจริงโดยกระบวนการพัฒนาต้องอาศัย หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมทั้ง  ภาคราชการ  การเมืองท้องถิ่น ภาคประชาชนและภาควิชาการ โดยพบว่า ภาคส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ภาคประประชาชนที่ตระหนักรู้ถึงปัญหาของชุมชนและต้องการแก้ไขปัญหา ตลอดจน สามารถวิเคราะห์/สังเคราะห์ความรู้ จากการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมานฉันท์  จึงเกิดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของชุมชนและสามารถขยายผลและมีเครือข่ายมากขึ้น

               การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนของชุมชนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยมีประชาชนเป็นแกนสำคัญในการพัฒนา

 

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

อุดมวงศ์ น., จันทโสภีพันธ์ พ., ลาศุขะ ด., สุคำวัง ก., ยาประเสริฐ ว., ยาประเสริฐ ส., แก้วกันทะ ธ., พลชมชื่น บ., สมธรรม ส., แสงบุญ อ., & กาญจนสาวิตรี ช. (2015). บทเรียนจาการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 42(1), 97–107. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34870