ผลของโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา คุณภาพชีวิต และการกลับมารักษาซ้ำในผู้ที่เป็นโรคติดสุราในภาคใต้

Authors

  • หรรษา เศษฐบุปผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์ โรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่
  • นพวรรณ อูปคำ โรงพยาบาลจอมทอง จ.เชียงใหม่
  • ภรภัทร สิมะวงค์ โรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่
  • สกาวรัตน์ เทพประสงค์ โรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่
  • พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขถาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Keywords:

การดูแลเชิงรุก, โรคติดสุรา, ผู้ที่เป็นโรคติดสุรา, การดูแลต่อเนื่อง, การพยาบาลจิตเวช

Abstract

                 โรคติดสุราเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงมาก การได้รับการดูแลต่อเนื่องเชิงรุกหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลโดยบุคลากรทีมสุขภาพในชุมชน ที่ผู้ที่เป็นโรคติดสุราอาศัยอยู่เป็นวิธีการที่จะช่วยประคับประคองให้ผู้ที่เป็นโรคติดสุราสามารถจัดการกับพฤติกรรมการดื่มสุราและอยู่ในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพชีวิต การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) ชนิดศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา(one group time series design)นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา คุณภาพชีวิต และการกลับมารักษาซ้ำในผู้ที่เป็นโรคติดสุราในภาคใต้  กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคติดสุราที่จำหน่ายจากสถานบริการสุขภาพ ญาติหรือผู้ดูแล และบุคลากรทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ผู้ที่เป็นโรคติดสุราอาศัยอยู่เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย1) โปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจ (หรรษา  เศรษฐบุปผา และคณะ, 2555a) เป็นแผนการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ที่เป็นโรคติดสุราโดยบุคลากรทีมสุขภาพ มุ่งเน้นในการดูแลรายกรณีเชิงรุก 3 ด้าน ได้แก่ การรักษา การส่งเสริมสุขภาพและการสนับสนุนประคับประคอง (Stein & Santos, 1998)  2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ญาติหรือผู้ดูแล และบุคคลากรทีมสุขภาพ 3) แบบประเมินปัญหาจากการใช้สุรา (AUDIT)    4) แบบประเมินคุณภาพชีวิต 5) แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

            ผลการวิจัยพบว่า

             1. พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ที่เป็นโรคติดสุราพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงระดับการดื่มโดยก่อนได้รับโปรแกรมใกล้บ้านสมานใจผู้ที่เป็นโรคติดสุรามีพฤติกรรมการดื่มแบบติดทั้งหมด (ร้อยละ 100.0) และหลังได้รับโปรแกรมครบ 12 เดือน พบว่าสามารถหยุดดื่มได้ (ร้อยละ 29.9) ดื่มแบบอันตราย (ร้อยละ 3.3) ดื่มแบบเสี่ยง (ร้อยละ 33.3) ดื่มแบบปลอดภัย (ร้อยละ 16.7) และส่วนใหญ่สามารถลดปริมารการดื่มได้ (ร้อยละ 96.7) และในจำนวนนั้นสามารถหยุดดื่มได้ (ร้อยละ 29.9)            

             2. คุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคติดสุราหลังได้รับโปรแกรมใกล้บ้านสมานใจ  พบว่าผู้ที่เป็นโรคติดสุรามีคุณภาพชีวิตหลังหลังได้รับโปรแกรมทันที 6 เดือน และ 12 เดือน เพิ่มขึ้นโดยลำดับ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

             3. การกลับมารักษาซ้ำของผู้ที่เป็นโรคติดสุราหลังได้รับโปรแกรมใกล้บ้านสมานใจ พบว่าหลังได้รับโปรแกรม 12 เดือน ผู้ที่เป็นโรคติดสุราส่วนใหญ่ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคติดสุรา (ร้อยละ 83.33)  และมีการกลับมารักษาซ้ำ เพียงร้อยละ16.7

             การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการดำ เนินงานตามโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจเชิงคลินิกในการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มสุรา เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดการกลับมารักษาซ้ำ จึงสมควรที่สถานบริการสุขภาพในชุมชนจะใช้ในการติดตามดูแลเชิงรุกสำหรับผู้ที่เป็นโรคติดสุราหลังจำหน่ายจากสถานบริการสุขภาพต่อไป

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

เศษฐบุปผา ห., รัศมีสุวิวัฒน์ จ., อูปคำ น., สิมะวงค์ ภ., เทพประสงค์ ส., & กิตติรัตนไพบูลย์ พ. (2015). ผลของโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา คุณภาพชีวิต และการกลับมารักษาซ้ำในผู้ที่เป็นโรคติดสุราในภาคใต้. Nursing Journal CMU, 42(1), 108–121. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34872