ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก

Authors

  • นริศรา ศรีกุลวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
  • ศรีพรรณ กันธวัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุษณีย์ จินตะเวช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, วัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก, Health Promotion Behaviors, Adolescents with Epileps

Abstract

บทคัดย่อ

การเจ็บป่วยด้วยโรคลมชักและการรักษาส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชักทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชักมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ การศึกษาเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการ ทำนายของสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพตามการรับรู้ การสนับสนุนของครอบครัวในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ การสนับสนุนของเพื่อนในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชักต่อพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ทฤษฏีการส่งเสริมสุขภาพของ เพนเดอร์ และคณะ เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก อายุ 13-19 ปี จำนวน 126 ราย ที่ได้รับการรักษาด้วยยากันชัก ในแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถาม พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก (2) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก (3) แบบสอบถามประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพตามการรับรู้ของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก (4) แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัว ในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก และ (5) แบบสอบถามการสนับสนุน ของเพื่อนในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก แบบสอบถามเหล่านี้มี ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.85 - 0.94 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นระหว่าง 0.84 - 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า

1. สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสามารถทำนายการปฏิบัติ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้สูงสุด คือ ร้อยละ 33.6 (R2 = 0.336, p < 0.001)

2. สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และประโยชน์ของการปฏิบัติเป็นโรคลมชักได้ร้อยละ 37.8 (R2 = 0.378, p < 0.05)

3. การสนับสนุนของครอบครัวในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการสนับสนุนของ เพื่อนในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่ทำให้อำนาจการทำนายเพิ่มขึ้น (β = -0.033, p > 0.05, β = -0.115, p > 0.05)

ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามการรับรู้ของวัยรุ่น ที่เป็นโรคลมชักต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และสามารถนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการส่งเสริม พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชักต่อไป

คำสำคัญ: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ วัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก

 

Abstract

Epilepsy and its treatment can affect the adolescent physically, psychologically and socially. Evidence shows that adolescents with epilepsy performed some unhealthy behaviors resulting in uncontrollable seizures. The objective of this predictive study was to describe predictability of perceived self-efficacy, perceived benefit, family support, and peer support on health promotion behaviors of adolescents with epilepsy. Pender’s health promotion model was used as the study framework. The study sample was 126 children with epilepsy aged between 13-19 years receiving antiepileptic drugs in outpatient department units of three tertiary hospitals. The research instruments consisted of 1) health promoting behavior of adolescents with epilepsy scale, 2) perceived self - efficacy of adolescents with epilepsy scale, 3) perceived benefit of adolescents with epilepsy scale, 4) family support of adolescents with epilepsy scale, and 5) peer support of adolescents with epilepsy scale. Content validity index and reliability coefficients of these scales were between 0.85 - 0.94 and 0.84 - 0.95, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis.

The results of study

1. Perceived self – efficacy explained 33.6% of the variation in health promotion behaviors of adolescents with epilepsy (R2 = 0.336, p < 0.001)

2. Perceived self-efficacy and benefit together explained 37.8% of the variation in their health promotion behaviors (R2 = 0.378, p < 0.05)

3. Family support and peer support could not predicted their health promotion behaviors (β = -0.033, p > 0.05, β = -0.115, p > 0.05)

The study results provide an information for understanding of the influences of perceived self – efficacy and perceived benefit of health promotion behaviors of adolescents with epilepsy and this information can be used to develop nursing interventions for enhancing health promotion behaviors of adolescents with epilepsy.

Key words: Health Promotion Behaviors, Adolescents with Epileps

Downloads

How to Cite

ศรีกุลวงศ์ น., กันธวัง ศ., & จินตะเวช อ. (2012). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นที่เป็นโรคลมชัก. Nursing Journal CMU, 39(4), 23–33. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7362