ผลของการประคบเย็นและการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดในการคลอดของผู้คลอดครั้งแรก

Authors

  • นุชสรา อึ้งอภิธรรม พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย
  • สุกัญญา ปริสัญญกุล รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นันทพร แสนศิริพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความเจ็บปวดในการคลอด, การประคบเย็น, การประคบร้อน, การลดความเจ็บปวดในการคลอด, Labor Pain, Cold Compression, Heat Compression, Relief of Pain During Labor

Abstract

บทคัดย่อ

ความเจ็บปวดในการคลอดเป็นสาเหตุของความไม่สุขสบายและทุกข์ทรมาน และส่งผลกระทบ ต่อผู้คลอดครั้งแรกทั้งทางร่างกายและจิตใจ การประคบเย็นและการประคบร้อนเป็นวิธีที่อาจช่วย ลดความเจ็บปวดในการคลอดได้ การวิจัยเชิงทดลองอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบผลของการประคบเย็นและการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดในการคลอดของผู้คลอด ครั้งแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้คลอดครั้งแรก ที่มารับบริการคลอด ณ ห้องคลอดโรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 66 ราย ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2554 โดยการสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิธีการหายใจในการบรรเทา ความเจ็บปวดในการคลอดเมื่อแรกรับ กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ได้รับการประคบเย็นโดยใช้แผ่นเจลที่มี อุณหภูมิ 10 - 15 องศาเซลเซียส และกลุ่มที่ 2 ได้รับการประคบร้อนโดยใช้แผ่นเจลที่มีอุณหภูมิ 40 - 45 องศาเซลเซียส กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม ได้รับการประคบนาน 20 นาทีในแต่ละชั่วโมง บริเวณหน้าท้อง ส่วนล่างและหลังส่วนล่าง วัดความเจ็บปวดชนิดที่เป็นตัวเลข และทดสอบความแปรปรวนแบบหนึ่งทาง

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้คลอดกลุ่มที่ได้รับการประคบเย็นมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิด เร็วและระยะเปลี่ยนผ่านตํ่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ)

2. ผู้คลอดกลุ่มที่ได้รับการประคบร้อนมีคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วและ ระยะเปลี่ยนผ่านตํ่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)

3. ผู้คลอดกลุ่มที่ได้รับการประคบเย็นและกลุ่มที่ได้รับการประคบร้อนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความ เจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วและระยะเปลี่ยนผ่านไม่แตกต่างกัน

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประคบเย็น และการประคบร้อนสามารถบรรเทาความเจ็บปวด ในการคลอดของผู้คลอดครั้งแรกได้ จึงเสนอแนะว่าการประคบเย็น หรือการประคบร้อนเป็นทางเลือกที่ นำมาใช้ในการลดความเจ็บปวดในการคลอดโดยไม่ใช้ยา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคณุ ภาพทางการพยาบาล

คำสำคัญ: ความเจ็บปวดในการคลอด การประคบเย็น การประคบร้อน การลดความเจ็บปวดในการคลอด

 

Abstract

Labor pain causes discomfort and suffering and can affect primiparas both physically and mentally. Cold and heat compression is one method that may relieve labor pain. The purpose of this experimental research was to examine the effect of cold and heat compression on labor pain among primiparas. The sample comprised 66 primiparas who were admitted at labor room unit in Maesai hospital, Chiang Rai province during April to July 2011. The subjects were selected using simple random sampling and equally assigned into one control group and two experimental groups, comprising 22 parturients per group. The subjects in the control group received routine nursing care while the first experimental group subjects received cold compression by using the gel packs, where the temperature was adjusted to be in the range of 10 - 15°C; and the second experimental group subjects received heat compression by using the gel packs, where the temperature was adjusted to be in range of 40 - 45°C. Compression occurred for 20 minutes each hour on the lower abdomen and lower back while the subjects were at 4 cm of dilatation until fully dilatation of cervix. The research instruments consisted of the microwavable and freezable hot/cold gel packs. Data collection tools consisted of the demographic record form and the Numeric Rating Pain Scales. Data were analyzed using descriptive statistics and one way analysis of variance.

The results of study

1. The mean scores of labor pain in the cold compression group during active and transitional phases were statistically significantly lower than those of the control group (p < 0.001 and 0.001, respectively).

2. The mean scores of labor pain in the heat compression group during bothactive and transitional phases were statistically significantly lower than those of the control group (p < 0.01).

3. The mean scores of labor pain between the cold compression group and the heat compression group were not different.

The study results show that the cold and heat compressions could help relieve pain in primiparas. Using either the cold or heat compression should be recommended as an nonpharmacologic alternative for relief of pain during labor to improve the quality of nursing care.

Key words: Labor Pain, Cold Compression, Heat Compression, Relief of Pain During Labor

Downloads

How to Cite

อึ้งอภิธรรม น., ปริสัญญกุล ส., & แสนศิริพันธ์ น. (2012). ผลของการประคบเย็นและการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดในการคลอดของผู้คลอดครั้งแรก. Nursing Journal CMU, 39(4), 46–58. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7363