ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างบูรณาการ

Authors

  • สุจิตราภรณ์ พิมพ์โพธิ์ พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จังหวัดปราจีนบุรี
  • ชนกพร จิตปัญญา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ภาวะซึมเศร้า, การทบทวนวรรณกรรม, Patients with acute coronary syndrome, depression, literature review

Abstract

บทคัดย่อ

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยทั้งจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น การเสียชีวิตสูงขึ้นและการรักษาที่ราคาแพง ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนอกจากจะมีปัญหาทางร่างกายแล้วยังมีปัญหาทางจิตใจด้วย โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะซึมเศร้าทาให้การทาหน้าที่ของร่างกายลดลง คุณภาพชีวิตลดลง และที่รุนแรงไปกว่านั้นภาวะซึมเศร้ายังเป็นปัจจัยที่ทาให้เกิดการเสียชีวิตได้ การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

การวิจัยเชิงเอกสารครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยทำการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 ถึง ค.ศ.2012 จำนวน 18 เรื่อง

ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยร่วมหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ ประสิทธิภาพการทางานของหัวใจ ระยะเวลาการเจ็บป่วย ความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค ประสบการณ์การเจ็บป่วย ความเหนื่อยล้า การสนับสนุนทางสังคม แบบแผนการดาเนินชีวิต การทาหน้าที่และความหวัง

การศึกษานี้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นประโยชน์สาหรับพยาบาลในการให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พยาบาลควรพัฒนาแนวทางการดูแลซึ่งรวมทั้งประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องและวางแผนการดูแลเพื่อป้องกันและดูแลภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันให้เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ภาวะซึมเศร้า, การทบทวนวรรณกรรม

 

Abstract

Acute Coronary Syndrome is a major public health problem in Thailand due to its high incidence and high mortality rate. Treatment for patients with acute coronary syndrome is rather expensive. Besides physical problems, clients with acute coronary syndrome face psychological problems, especially depression. Depression has many effects on patients with acute coronary syndrome including low quality of life, and death.

This study aims to analyze and synthesize the research evidence focusing on depression and factors associated with depression in patients with acute coronary syndrome by searching electronic databases both in Thai and Western literature from the year 1990 to 2012. Eighteen studies were recruited in this analysis.

The results showed that there were many risk factors and affecting factors associating with depression in patients with acute coronary syndrome including gender, age, education, marital status, income, left ventricular ejection fraction, illness duration, disease severity, complications, experiences, fatigue, social support, life style, functional status, and hope.

This study was the valuable evidence for nurses to use as an important issue associated to depression of patients with acute coronary syndrome. In addition, nurses should develop guidelines of care including assessment of affecting factors and appropriate management to prevent and to care depression in patients with acute coronary syndrome.

Key Words : Patients with acute coronary syndrome, depression, literature review

Downloads

How to Cite

1.
พิมพ์โพธิ์ ส, จิตปัญญา ช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างบูรณาการ. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 11 [cited 2024 Apr. 19];23(2):43-58. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8490