About the Journal

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานในลักษณะบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ขอบเขตของผลงานที่ตีพิมพ์

          วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตีพิมพ์บทความได้แก่ ด้านภาษาไทยและต่างประเทศ  รัฐศาสตร์  รัฐประศาสนศาสตร์  เศรษฐศาสตร์    จิตวิทยา  นิเทศศาสตร์  พฤติกรรมศาสตร์  ประชากรศาสตร์  สังคมสงเคราะห์ศาสตร์  มานุษยวิทยา  สังคมวิทยา  ภูมิศาสตร์  วิทยาการประกันภัย  สถิติศาสตร์  บรรณารักษศาสตร์  บริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์  กฎหมาย  การบัญชีและบริหารธุรกิจ

การพิจารณาบทความ

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้แต่งและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการ (Academic Article)งานเขียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่ง

           ข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ตประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข

  1. บทความวิจัย (Research Article)เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัย
  1. บทความปริทัศน์ (Review Article)งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้าง และทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อพิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป
  1. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)บทความที่วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระ คุณค่า และ คุณูปการของหนังสือ บทความหรือผลงานศิลปะ อาทินิทรรศการ ทัศนศิลป์ และการแสดงละครหรือดนตรี โดยใช้หลักวิชาและดุลยพินิจอันเหมาะสม

 

หลักเกณฑ์ในการส่งบทความ

  1. บทความที่ผู้แต่งส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์จากวารสารอื่น ๆ
  2. เนื้อหาในบทความต้องไม่คัดลอก ลอกเลียน หรือไม่ตัดทอนจากบทความอื่นโดยเด็ดขาด (การละเมินลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น)
  3. ผู้แต่งต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบการส่งบทความของ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  4. การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จะพิจารณาเฉพาะบทความที่ได้รับการประเมินให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น
  5. กรณีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แต่งต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าว มายังกองบรรณาธิการ

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

            รับการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2003 ขึ้นไป โดยใช้ตัวหนังสือแบบ TH SarabunPSK  ขนาด 16 pt. ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  กำหนดตั้งค่าหน้ากระดาษ บน 1.5 นิ้ว ซ้าย 1.5 นิ้ว ล่าง 1.0 นิ้ว ขวา 1.0 นิ้ว  โดยความยาวของบทความควรเป็นดังนี้

  1. บทความทางวิชาการ (Academic article) ประมาณ 15 หน้า ต่อบทความ
  2. บทความวิจัย (Research article) ประมาณ 15 หน้า ต่อบทความ
  3. บทความปริทรรศน์ (Review article) ประมาณ 8  หน้า ต่อบทความ
  4. บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ประมาณ 5  หน้า ต่อบทวิจารณ์

โดยมีส่วนประกอบดังนี้

 

บทความทางวิชาการ

บทความวิจัย

บทความปริทรรศน์

บทวิจารณ์หนังสือ

1.บทนํา

2.กรอบในการวิเคราะห์

3.เนื้อหา
4.สรุป

5.เอกสารอ้างอิง

1.บทนํา

2.วัตถุประสงค์การวิจัย

3.ทบทวนแนวคิด
4.สมมติฐาน(ถ้ามี)
5.กรอบแนวคิดของการวิจัย

6. ระเบียบวิธีวิจัย
7.ผลการวิจัย
8.สรุปผลการวิจัยและอภิปราย

9.เอกสารอ้างอิง

1.บทนํา
2.บทสรุป
3.เอกสารอ้างอิง

บทความที่วิพากษ์วิจารณ์ เนื้อหาสาระ คุณค่า และ คุณูปการของหนังสือ บทความ  หรือผลงาน ศิลปะ อาทิ นิทรรศการ ทัศนศิลป์ และการแสดง ละครหรือดนตรี โดยใช้ หลักวิชาและดุลยพินิจอัน เหมาะสม

 

Academic Article

Research Article

Review Article

Book Review

1.Introduction

2.Framework Analysis
3.Content 4.Conclusion 5.References

1.Introduction

2. Research Objectives

3. Literature Review

4. Hypothesis(If any)

5. Conceptual Framework

6. Methodology

7. Research Results

8. Results Conclusion and Discussion

8.1 Results Conclusion

8.2 Discussion

9. References

 

1.Introduction 2.Conclusion

3.References

The critique article should critically evaluate the subject, whether a book, film, work of art,dance, musicperformance or even another article. This has to be done looking at the content, the main points, and the benefit proceeding from it and how it expresses its discipline.

 

ชื่อเรื่อง           ควรมีความกระชับและชัดเจน ไม่ยาวจนเกินไป บทความภาษาไทยต้องมีชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

ชื่อผู้แต่ง         ระบุชื่อเต็มและนามสกุลเต็มของผู้แต่งทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยไม่ใส่ยศหรือตำแหน่ง สำหรับผู้แต่งหลักต้องใส่ E-mail address ที่ติดต่อได้และลงเครื่องหมายดอกจันกำกับ

บทคัดย่อ         ทุกบทความต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษยกเว้นบทวิจารณ์หนังสือ โดยควรมีความยาวระหว่าง 200 ถึง 250 คำ

คำสำคัญ         ให้มีคำสำคัญ 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

รูปภาพ           แยกบันทึกเป็นไฟล์ภาพที่มีนามสกุล TIFF, หรือ JPEG ถ้าเป็นภาพถ่ายกรุณาส่งภาพต้นฉบับเพื่อคุณภาพในการพิมพ์ หมายเลขรูปภาพและกราฟ ให้เป็นเลขอารบิก คำบรรยายและรายละเอียดต่างๆ อยู่ด้านล่างของรูปภาพ ปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการตีพิมพ์แบบขาว-ดำ หรือ Greyscale

เนื้อหา            ใช้ตัวหนังสือแบบ TH SarabunPSK  ขนาด 16 พอยท์ จัดเนื้อหาตามรูปแบบบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) หรือ บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หน่วยที่ใช้ให้เป็นไปตามรูปแบบสากล ศัพท์ภาษาอังกฤษในวงเล็บให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะ หากมีสมการให้ใช้ Equation Editor โดยจัดให้อยู่ในตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ และระบุหมายเลขสมการ

ตาราง            หมายเลขตารางให้เป็นเลขอารบิก คำบรรยายและรายละเอียดต่างๆ อยู่ด้านบนของตาราง

เอกสารอ้างอิง  เป็นรายชื่อเอกสารที่ใช้อ้างถึงในบทความ โดยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ และจัดรูปแบบอ้างอิงตามระบบ APA 6th edition

รูปแบบการอ้างอิง

1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation)

กรณีอ้างอิงชื่อผู้แต่งก่อนข้อความ        ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์)........................

ตัวอย่าง                                     Kelly (2004) แสดงให้เห็นว่า........................

                                                  Saikaew & Kaewsarn (2009) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ........................

                                                  Lui et al. (2000) พบว่า........................

                                                  Saikaew & Kaewsarn (2009) และ Lui et al. (2000) พบว่า

กรณีอ้างอิงชื่อผู้แต่งท้ายข้อความ        ...................... (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)

ตัวอย่าง                                     ...................... (Kelly, 2004)

                                                  ...................... (Saikaew & Kaewsarn, 2009)

                                                  ...................... (Lui et al., 2000)

                                                  ...................... (Saikaew & Kaewsarn, 2009; Lui et al., 2000)

2. การอ้างอิงในส่วนท้ายบทความ (References)

2.1  อ้างอิงจากหนังสือ (Books)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ). สถานที่พิมพ: สํานักพิมพ.

ตัวอย่าง      Crawley, R. B., Dockery, L. M., Branson, T. S., Carmichael, L. E., Carson, J. C., Findlay, A. F., & Smith, D. M. (2015). Manor houses of the early 1900s. London, England: Taylor & Francis.

 

2.2  อ้างอิงจากบทความวารสาร (Journal articles)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

ตัวอย่าง      Yingsanga, P., & Mathurasa, L. (2009). Yellowing development of Chinese Kale (Brassica oleracea var. alboglabla).  Phranakhon Rajabhat Research Journal: Science and Technology, 14(1), 76-90. (In Thai)

                Morrisa, G.A., Fosterb, T.J., & Hardinga, S.E. (2000). The effect of the degree of esterification on the hydrodynamic properties of citrus pectin. Food Hydrocolloids, 14(3), 227–235.


 

2.3  อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Theses and Dissertations)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. (ระดับวิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัย, เมืองที่ตั้งมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง      Caprette, C.L. (2005). Conquering the cold shudder: The origin and evolution of snake eyes. (Doctoral dissertation). Ohio State University, Columbus, OH.

 

2.4  อ้างอิงจากรายงานการวิจัย/รายงานทางวิชาการ  (Technical/Research reports)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ประเภทของเอกสาร). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Tayama, T. (2006). Velocity influence on detection and prediction of changes in color and motion direction (Report No. 38). Sapporo, Japan: Psychology Department, Hokkaido University.

 

2.5  บทความ/บทในหนังสือการประชุม (Proceedings of meeting and symposium)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่งในบท. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อบรรณาธิการ, (บรรณาธิการ), ชื่อการประชุม (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย). สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Deci, E.L., & Ryan, R.M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on motivation: Vol. 38 Perspectives on motivation (237-288). Lincoln, NM: University of Nebraska Press.

 

2.6  อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. Retrieved from http://.............[ใส่วันที่สืบค้น].

ตัวอย่าง      Centers for Disease Control and Prevention. (2003). Take charge of your diabetes. Retrieved from http://www.cdc.gov/diabetes /pubs/paf/ted.pdf [2015, 25 Oct.]

 

2.7  อ้างอิงอื่นๆ

รูปแบบ       ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. (ปีที่ให้สัมภาษณ์, วัน เดือน). สัมภาษณ์. ตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์. หน่วยงาน.

ตัวอย่าง      Phae-ngam, W. (2016, 10 Jan.). How to write a good research article. Assistant Professor. Faculty of Science and Technology. Phranakhon Rajabhat University.

 

ติดต่อกองบรรณาธิการ
          สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
         9 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
         โทรศัพท์/โทรสาร 0 - 2521 - 2288, 0 - 2521 - 1234
         E-mail: [email protected]
        และ https://www.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/login

 กำหนดออก
         2 ฉบับ ต่อปี (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม

การเผยแพร่
        ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/issue/archive


พิมพ์ที่
        หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์
       44/132 ถนนกำนันแม้น แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
       โทรศัพท์ 0-2802-0377, 0-2802-0379, 08-1566-2540

ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียม
         กองบรรณาธิการวารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ผ่านทางบัญชีธนาคารเท่านั้น หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านกล่องข้อความกระทู้สนทนา (Discussion) ของผู้เขียน ในระบบ ThaiJo เพื่อกองบรรณาธิการจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

               เลขที่บัญชี 136-2-48700-9 
               ชื่อบัญชี โครงการเฉพาะกิจ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
               ประเภทบัญชี ออมทรัพย์
               ธนาคารทหารไทย สาขารามอินทรา กม.4