ผลลัพธ์ของการใช้เกณฑ์การประเมินอวัยวะ ล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบเร็วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผู้ ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัด ฉะเชิงเทราในผู้ป่วยติดเชื้อที่โรงพยาบาล บางปะกง

Main Article Content

คมกฤช สุทธิฉันท์
มยุรี พิทักษ์ศิลป์
สมจิต พฤกษะริตานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิต อัตราการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อ อัตราการกลับมาโรงพยาบาล และระยะเวลานอนโรงพยาบาล ของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อค หลังได้รับการวินิจฉัยระหว่างการใช้เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว (qSOFA) และเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา (standard criteria)


วิธีการศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มเปรียบเทียบเป็นกลุ่มควบคุมในอดีต (historical control) กลุ่มศึกษา (prospective cohort group) ได้แก่ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว ซึ่งเก็บข้อมูลไปข้างหน้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2560 จำนวน 49 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ (historical group) ได้แก่ ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อคทุกรายแบบย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 49 ราย โดยคัดผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ผู้ป่วยที่ปฏิเสธการใส่ท่อช่วยหายใจและการใช้ยากระตุ้นหลอดเลือดและหัวใจและผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาออกจากการศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความต่างระหว่างกลุ่มด้วย proportion different test (Z-test) และ Cox regression Breslow method for ties


ผลการศึกษา ผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีอัตราการเสียชีวิต (mortality rate) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ร้อยละ 4.87 (rate difference: RD = -4.87%; 95% confidenceinterval (CI) = -0.14, 0.04) มีอัตราการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น (referral rate) มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 4.08 (RD = 4.08%); 95% CI = -0.12, 0.20) และมีอัตรากลับมาโรงพยาบาล (revisit rate) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ร้อยละ 5.40 (RD = -5.40%; 95% CI = -0.12, 0.01) ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับระยะเวลาการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มศึกษาจะมีโอกาสน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (hazard ratio (HR) = 0.57; 95% CI = 0.35, 0.93; p = 0.026)


สรุปผลการศึกษา การวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว (qSOFA) ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่าการวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา และมีอัตราการเสียชีวิตและอัตราการกลับมาโรงพยาบาลที่ลดลงแต่ยังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใช้เกณฑ์นี้จะทำให้มีอัตราการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Tintinalli J.E. Tintinalli’s Emergency Medicine: A Comprehensive study guide. 8th edition. New York: McGraw Hill; 2011.

2. Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. Georgia: Sepsis [Access date 2016 Aug 18]. Available from: https://www.cdc.gov/sepsis/datareports/index.html

3. นฤพนธ์ ยุทธเกษมสันต์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย Sepsis ในโรงพยาบาลหนองคาย. ขอนแก่นเวชสาร. 2008; 32: 340-352.

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการ เขตบริการสุขภาพที่ 6 ปี 2558-2560.

5. ฐานข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลบางปะกง. 2560.

6. Kleinpell RM, Schorr CA, Balk RA. The new sepsis definitions:Implications for critical care practitioners. Am J Crit Care. 2016; 25: 457-64. doi: 10.4037/ajcc2016574.

7. Singer M, Deutschman CS, Seymour CW. The Third International Concensus Defnitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA 2016; 315: 801-810. doi:10.1001/jama.2016.0287

8. Freund Y, Lemachatti N, Krastinova E, Van Laer M, Claessens YE, Avondo A, et al; French Society of Emergency Medicine Collaborators Group. Prognostic accuracy of sepsis-3 criteria for in-hospital mortality among patients with suspected infection presenting to the emergency department. JAMA. 2017; 317: 301-08.

9. Goulden R, Hoyle MC, Monis J, Railton D, Riley V, Martin P, et al. qSOFA, SIRS and NEWS for predicting inhospital mortality and ICU admission in emergency admissions treated as sepsis. Emerg Med J. 2018; 35: 345-349. doi: 10.1136/emermed-2017-207120. Epub 2018 Feb 21.

10. Song JU, Sin CK, Park HK, Shim SR, Lee J. Performance of the quick Sequential (sepsis-related) Organ Failure Assessment score as a prognostic tool in infected patients outside the intensive care unit: a systematic review and meta-analysis. Crit Care. 2018; 22: 28. doi: 10.1186/s13054-018-1952-x.

11. SerafimR, Gomes JA, Salluh J, Povoa P. A comparison of the quick-SOFA and systemic inflammatoryresponse syndrome criteria for the diagnosis of sepsis and prediction of mortality: A systematic review and meta-analysis. Chest. 2018; 153: 646-55.

12. Finkelsztein EJ, Jones DS, Ma KC, et al. Comparison of qSOFA and SIRS for predicting adverse outcomes of patients with suspicion of sepsis outside the intensive care unit. Critical Care. 2017; 21: 73. doi:10.1186/s13054-017-1658-5.