การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการ ของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ จุลชีววิทยา

Main Article Content

นันทวรรณ จินากุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องปฏิบัติการปลอดภัยทางเคมี ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


วิธีการศึกษา ดำเนินการสำรวจห้องปฏิบัติการเพื่อชี้บ่งอันตรายโดยวิธี Checklist ตามแบบสำรวจ ESPReL Checklist ด้านระบบการจัดการของเสียสำหรับใช้ในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี Checklist โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงในเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล และจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนควบคุมความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงระดับ 2 แผนลดความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงระดับ 3 และ 4)


ผลการศึกษา พบว่า ไม่มีพื้นที่/บริเวณที่เก็บของเสียที่แน่นอนเป็นความเสี่ยงระดับ 2 เก็บของเสียประเภทไวไฟในห้องปฏิบัติการเกิน 10 gal (38 L) โดยไม่มีตู้สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะเป็นความเสี่ยงระดับ 4 ไม่กำหนดปริมาณรวมสูงสุดของของเสียที่อนุญาตให้เก็บได้ในห้องปฏิบัติการเป็นความเสี่ยงระดับ 3 ไม่ลดการเกิดของเสียด้วยการ reuse และ recycle เป็นระดับความเสี่ยงระดับ 2 และ ไม่มีการบำบัดของเสียก่อนทิ้งเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 3 นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงมาจัดทำแผนการควบคุมความเสี่ยง และแผนลดความเสี่ยง


สรุป แผนลดและความคุมความเสี่ยงระยะสั้น ได้แก่ แผนควบคุมเหตุฉุกเฉิน กำหนดมาตรการผจญเพลิง มาตรการจัดการกรณีเกิดอุบัติเหตุสารรั่วไหล การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ จัดทำคู่มือการกำจัดของเสียและประชาสัมพันธ์การทิ้งสารเคมีอันตราย จัดหาสถานที่รวบรวมของเสียส่วนกลาง ทำการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน แผนลดและความคุมความเสี่ยงระยะยาว ได้แก่ การลดความเสี่ยงโดยวิธีการควบคุมเหตุฉุกเฉิน การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต การกำหนดกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (call Tree) กำหนดแนวทางการตอบสนองเหตุการณ์และกอบกู้กระบวนการ จัดทำแผนความต่อเนื่อง (business continuity plan -BCP) อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทางเคมี ส่งเสริมให้ลดการใช้และลดการครอบครองสารเคมีอันตราย ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดการใช้สารเคมีอันตราย ส่งเสริมให้มีการนำสารเคมีกลับมาใช้ซ้ำและส่งเสริมให้มีระบบการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. นันทวรรณ จินากุล, กาญจนา ทิมอ่ำ, ดวงใจ จันทร์ต้น, กวีวุฒิ กนกแก้ว, สุรินทร์ อยู่ยง, ประดิษฐา รัตนวิจิตร์ และคณะ. ระบบบริหารจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 5. ฉบับพิเศษ; 175-182.

2. ส่วนของเสียอันตราย สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. แนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.มีเดีย เพรส; 2548.

3. Robert H. Hill, Jr., Jean A. Gaunce, and Pamela Whitehead. Chemical safety levels (CSLs): A proposal for chemical safety practices in microbiological and biomedical laboratories. Chemical Health & Safety. 1999; 6: 6-14.

4. World Health Organization. Laboratory biosafety manual. 3rd edition. Geneva; 2004.

5. Us Department of Health and Human Services. Biosafety in Microbiological and Biomedical Laboratories. 5th edition. Public Health Service, Centers for Disease Control and Prevention and the National Institutes of Health; 2009.

6. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

7. โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

8. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

9. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือปฏิบัติด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ. ม.ป.ท; 2558.

10. ชลภัทร สุขเกษม, สุดา ลุยศิริโรจนกุล, สหพัฒน์ บรัศว์รักษ์, วิทวัช วิริยะรัตน์. ความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสัตวแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย (1999); 2555.

11. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บสารไวไฟ. [Internet]. [accessed April 02, 2018]. Available from: http://labsafety.nrct.go.th/index.php/2014-05-19-04-38-41/2014-08-05-05-52-51/203-2014-09-23-08-26-03.

12. สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. คู่มือ 3Rs กับการจัดการของเสียภายในโรงงาน. ม.ป.ท; 2555.

13. Elizabeth de Souza Nascimento and Alfredo Tenuta Filho. Chemical waste risk reduction and environmental impact generated by laboratory activities in research and teaching institutions. Brazilian Journal of Pharmaceutical Sciences. 2010; 46: 187-98.

14. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติอาชีว อนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

15. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). การบำบัดและกำจัดของเสีย. [Internet]. [accessed April 02, 2018]. Available from: http://labsafety.nrct.go.th/index.php/2014-05-19-04-38-41/2014-08-05-05-53-02/106-2014-09-24-01-05-17.

16. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

17. พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558; 23: 667-81.