การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์เพื่อสร้างรูปแบบและกลไกการจัดการขยะอย่างครบวงจรบนฐาน การมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน

Authors

  • เก ประเสริฐสังข์ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดุษฎี โยเหลา รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สมไทย วงษ์เจริญ นักวิจัยอิสระ

Keywords:

การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วม, การจัดการขยะอย่างครบวงจร, รูปแบบและกลไก, การมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและสังเคราะห์รูปแบบและกลไกการจัดการขยะอย่างครบวงจรบนฐานการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน ดำเนินการในพื้นที่ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีกลุ่มผู้ร่วมวิจัย 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชน จำนวน 22 คน 2) กลุ่มนักเรียนและครูในโรงเรียนจำนวน 20 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การเปิดวงสุนทรียสนทนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและกลไกในการจัดการขยะอย่างครบวงจร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ (4C) ได้แก่ 1) การสร้างพื้นที่สาธารณะของกลุ่ม (Create Public Sphere) เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับดำเนินการปฏิบัติการสื่อสาร 2) การเปลี่ยนการเรียนรู้ (Change Learning) โดยมีรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้ 2 ลักษณะคือ การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ และการเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดทางสังคม 3) การเปลี่ยนความเข้าใจ (Change Understanding) ประกอบด้วย ด้านความรู้สึก ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการขยะ และการตระหนักต่อปัญหาและผลกระทบจากปัญหาขยะ ด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการขยะและวิธีการคัดแยกขยะ และ 4) การเปลี่ยนพฤติกรรม (Change Behavior) ประกอบด้วย การลดขยะ การแยกขยะ และการกำจัดขยะ ภายใต้เงื่อนไข 3 ด้าน คือ รายได้ การตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม และบุญ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. (พิมพ์ครั้งที่4). คณะนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน.
กรมควบคุมมลพิษ. (2547). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร : คู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ปิยชาติ ศิลปสุวรรณ. (2557). ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ. บทความวิชาการ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2547). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2552). มิติใหม่ชุมชนไทยไร้ถัง. กรุงเทพฯ : ส. เจริญการพิมพ์.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2558). แนนซี่ เฟรเซอร์ กับพื้นที่สาธารณะ. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(2), 1-17.
ศุภชัย ชัยจันทร์ และณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์. (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(2), 71-83.
เสรี พงศ์พิศ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนายั่งยืน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
Cohen , J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University.
Freire, P. (1974). Education for critical consciousness. New York: Continuum.
Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore: Springer Singapore.
Langenbach, M. (1988). Curriculum Models in Adult Education. Malabar. Florida: Krieger Publishing Company.
Malik, N., Abdullah, S., and Manaf, L. (2015). Community participation on solid waste segregation through recycling programmes in Putrajaya, Procedia Environmental Sciences, 30 (2014) ,10 – 14.
Mezirow, J. (1991). Transformative Dimensions of Adult Learning. San Francisco : Jossey-Bass.
Panko, M., Shama, R., and Fuemama, D. (2014) .WASTE NOT, WANT NOT: Education for Sustainability in the Construction Industry, Building a Better New Zealand.
Skinner, B. F. (1938). The Behavior of organisms: An experimental analysis. New York: Appleton-Century.
Turner, S. (2007). ‘Changed by the Encounter’: The Learning and Change that Counselors and Psychotherapists Experience as a Result of their Work with Clients. Doctoral dissertation, Faculty of Education University of Exeter.
United Nations Department of Economic and Social Affairs. (1978). Popular participation as a strategy for promoting community-level action and national development. Report of the meeting of the ad hoc group of experts held at United Nations headquarters from 22 to 26 May 1978, p.25.

Downloads

Published

2018-07-31

How to Cite

ประเสริฐสังข์ เ., โยเหลา ด., & วงษ์เจริญ ส. (2018). การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์เพื่อสร้างรูปแบบและกลไกการจัดการขยะอย่างครบวงจรบนฐาน การมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน. The Periodical of Behavioral Science, 24(2), 65–80. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/126366