การศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยกลุ่มสาระการเรียนรู้และ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อเครือข่ายการแลกเลี่ยนทางสังคมในที่ทำงานและ ตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัยของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (A Study Of Multilevel Structural Equation Modeling ..)

Authors

  • นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล (NumChai Suppareakchaisakul)

Abstract

The purpose of the study was to develop and test multilevel structural relationship models of leadership, learning strand, and personal factors affecting the workplace social exchange network and affective outcome variables of secondary school teachers and learning strand leaders. The sample consisted of 844 teachers and 185 strand leaders from 3 learning strands of secondary schools under jurisdiction of the Office of Basic Education Council in Bangkok. WABA was used to test the levels of analysis of the research variables, and then Multilevel Structural Equation Modeling with MLR estimation was used to test the structural multilevel models. The results indicated that the levels of analysis of transformational and transactional leadership were individuals; therefore, they were information processing leadership styles. In addition, all the other variable scores gaining from teachers were also individual-level variables. Hence the multilevel structural models of workplace social exchange network were separated into teachers’ and learning strand leaders’ models that were tested based on their perception scores. The results from the two models were different but the key common findings were as follows: Developmental experience was the most influential to the workplace social exchange network variables because it had direct effect on all 3 variables of social exchange. The social exchange variables were related to all 3 affective outcome variables that were job satisfaction, burnout, and organizational commitment. Job satisfaction played an important role to decrease teachers’ and strand leaders’ burnout because of its negative effect on burnout. Transformational leadership was more effective than transactional leadership to induce teachers’ job satisfaction, justice climate, and group cohesion. Strand leaders who had more transformational leadership tend to have more personal base of power and not likely to use hard influence tactics, while leaders who have more transactional leadership tend to have more position base of power and use both soft and hard influence tactics.

Keywords: Multilevel Structural Equation Modeling, WABA Analysis, Social Exchange, Leadership

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบแบบจำลองพหุระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางสังคมในที่ทำงานและตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัยของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือครูจาก 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร 844 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 185 คน จาก 64 โรงเรียน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์วาบา (WABA) เพื่อทดสอบระดับการวิเคราะห์ของตัวแปรการวิจัย และทดสอบแบบจำลองพหุระดับโดยใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนเป็นลักษณะภาวะผู้นำที่เกิดจากการประมวลสารสนเทศ ตัวแปรปัจจัยหัวหน้ากลุ่มและกลุ่มสาระการเรียนรู้มีระดับการวิเคราะห์เป็นรายบุคคล การวิเคราะห์แบบจำลอง จึงแยกออกเป็นแบบจำลองของครูและหัวหน้ากลุ่มโดยใช้คะแนนตัวแปรปัจจัยทั้งสองตามการรับรู้ของครูและหัวหน้ากลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในแบบจำลองทั้ง 2 แตกต่างกัน แต่ความสัมพันธ์ที่เหมือนกันที่สำคัญคือ ประสบการณ์การได้รับการพัฒนาเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางสังคมทั้ง 3 ประเภท ซึ่งการแลกเปลี่ยนทางสังคมนี้มีอิทธิพลต่อตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัยทั้งสามตัวแปร ความพึงพอใจในงานมีบทบาทช่วยลดความเหนื่อยหน่ายของครูและของหัวหน้ากลุ่ม ความเหนียวแน่นของกลุ่มมีอิทธิพลต่อเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางสังคมและตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพทางบวกเหนือกว่าภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน ผู้นำที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มที่จะใช้ฐานอำนาจส่วนบุคคลและไม่ใช้กลวิธีการใช้อิทธิพลแบบแข็ง

คำสำคัญ: ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับ การวิเคราะห์วาบา การแลกเปลี่ยนทางสังคม ภาวะผู้นำ

Downloads

How to Cite

(NumChai Suppareakchaisakul) น. ศ. (2012). การศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยกลุ่มสาระการเรียนรู้และ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อเครือข่ายการแลกเลี่ยนทางสังคมในที่ทำงานและ ตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัยของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (A Study Of Multilevel Structural Equation Modeling .). The Periodical of Behavioral Science, 13(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2045