ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • ธนิดา ทองมีเหลือ (Thanida Thongmeeluea)
  • ณิธีย์ หล่อเลิศวิทย์ (Nithee Lorlertwit)
  • ระพีวัฒน์ เลิศวุฒิสกุล (Rapeewat Lertwuttisakul)
  • ภัคธร วิศิษฎ์วิริยะชัย (Pakkatorn Wisitwiriyachai)
  • กริส จุฑานันท์ (Krit Juthanan)
  • เรวดี ทรงเที่ยง (Rewadee Songtiang)

Abstract

The purposes of this research were to study the relationships between psycho-social factors and Srinakharinwirot University Students’ public mind and to study the predictable of psycho-social factors on public mind in all participants and each gender separately.

This research was a correlative research. The sample for this research included 421 stratified quota random assigned Srinakharinwirot University students who were studying in the academic year 2006. The instruments for collecting data were six questionnaires, such as personal information questionnaire, public mind questionnaire, identity questionnaire, future orientation questionnaire, four types of child-rearing practices questionnaire: love-oriented practice, reasoning-oriented practice, physical punishment practice, and control practice, and relations with peers questionnaire. The statistical methods and procedures for analyzing data were Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis. The research result found that:

1. Psycho-social factors, such as identity, future orientation, love-oriented rearing practice, reasoning-oriented rearing practice, and relations with peers had positive correlation to Srinakharinwirot University students’ public mind with statistical significance at the .01 level.

2. Punishment rearing practice had negative correlation to Srinakharinwirot University students’ public mind with statistical significance at the .01 level, but control rearing practice had no significantly correlation to public mind.

3. Psycho-social factors, such as future orientation, relations with peers, and identity, all together were the co-predictors of Srinakharinwirot University students’ public mind that could be predictable 38.1 of percentage with statistical significance at the .01 level.

4. Psycho-social factors, such as future orientation and relationships with peers, all together were the co-predictors of male Srinakharinwirot University students’ public mind that could be predictable 43.1 of percentage with statistical significance at the .01 level.

5. Psycho-social factors, such as future orientation, identity, and love-oriented rearing practice, all together were the co-predictors of female Srinakharinwirot University students’ public mind that could be predictable 34.1 of percentage with statistical significance at the .01 level.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคม กับการมีจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยทางจิตสังคมในการพยากรณ์การมีจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยเมื่อแยกตามตัวแปรเพศ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 421 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว แบบวัดจิตสาธารณะ แบบวัดเอกลักษณ์แห่งตน แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูทั้ง 4 แบบ ประกอบด้วย แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกายมากกว่าทางจิต แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามสูตรของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคุณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) เป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคต และปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกายมากกว่าทางจิต มีความสัมพันธ์ทางลบกับจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับจิตสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3. ตัวแปรทางจิตสังคมที่สามารถร่วมกันทำนายจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน และเอกลักษณ์แห่งตน โดยสามารถร่วมกันทำนายจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 38.1

4. ตัวแปรทางจิตสังคมที่สามารถร่วมกันทำนายจิตสาธารณะของนิสิตเพศชาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต และสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน โดยสามารถร่วมกันทำนายจิตสาธารณะของนิสิตชาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 43.1

5. ตัวแปรทางจิตสังคมที่สามารถร่วมกันทำนายจิตสาธารณะของนิสิตเพศหญิงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต เอกลักษณ์แห่งตน และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน โดยสามารถร่วมกันทำนายจิตสาธารณะของนิสิตเพศหญิงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 34.1

Downloads

How to Cite

(Thanida Thongmeeluea) ธ. ท., (Nithee Lorlertwit) ณ. ห., (Rapeewat Lertwuttisakul) ร. เ., (Pakkatorn Wisitwiriyachai) ภ. ว., (Krit Juthanan) ก. จ., & (Rewadee Songtiang) เ. ท. (2012). ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. The Periodical of Behavioral Science, 13(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2048