รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านจิตสังคมของการปรับตัวของนิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Authors

  • Nantaphon Kulchanathara
  • อรพินทร์ ชูชม
  • วิชุดา กิจธรธรรม

Abstract

THE PSYCHO-SOCIAL CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF ADJUSTMENT AMONG FIRST YEAR UNDERGRADUATE STUDENTS LEAVING HOME FOR STUDYING IN UNIVERSITIES IN BANGKOK METROPOLITAN AND VICINITY AREA


Abstract

 

            The two main objectives of this study were: 1) to examine the psycho-social causal relationship model of adjustment among first year undergraduate students leaving home to study in universities in Bangkok metropolitan and vicinity area. ; 2) to compare the psycho-social causal relationship model of adjustment among first year undergraduate students leaving home to study in universities in Bangkok metropolitan and vicinity area between male and female students. The sample consisted of 892 first year undergraduate students (445 male students and 447 female students) leaving home to study in universities in Bangkok and its vicinity by a multi - stage sampling method. The data were collected by using nine questionnaires. All of the questionnaires were assessed for content validity by academic experts. The reliability coefficients of the questionnaires were between 0.78 and 0.89. The research findings were as follows: The hypothesized psycho-social causal relationship model of adjustment among first year undergraduate students leaving home to study in universities in Bangkok metropolitan and vicinity area was adjusted to be consistent with the fitted empirical data (χ2= 891.95, df = 323, p < 0.05, SRMR = 0.04, RMSEA = 0.04, GFI = 0.93, CFI = 0.99, TLI (NNFI) = 0.99, AGFI = 0.92, χ2/df = 2.76). In terms of adjustment, the variables that had direct positive effects were problem-focused coping, internet social support and separation-individuation, respectively. The variable which had a direct negative effect was emotion-focused coping. In addition, the variables which had indirect positive effects included: social capital, hardiness personality, internet social support and parental attachment, respectively. The variable which had an indirect negative effect was academic demands. According to the comparative study of the models depicted, testing for invariant revealed differences in terms of the coefficient effects and latent variable means across the male student group and the female student group.

Keywords:  adjustment, leaving home for studying, first year undergraduate students   

 

บทคัดย่อ 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านจิตสังคมของการปรับตัวของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านจิตสังคมของการปรับตัวของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ระหว่างนิสิตนักศึกษาชายและนิสิตนักศึกษาหญิง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่พักอยู่ในหอพักในมหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือกำกับของรัฐในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำแนกเป็นกลุ่มนิสิตนักศึกษาชาย จำนวน 445 คน และกลุ่มนิสิตนักศึกษาหญิง จำนวน 447 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 892 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในอยู่ระหว่าง 0.78 ถึง 0.89 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงในทางบวกต่อการปรับตัวของนิสิตนักศึกษามากที่สุด คือ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา รองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต และความเป็นตัวเองตามลำดับ ส่วนตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงในทางลบต่อการปรับตัว คือ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับอารมณ์ ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางอ้อมในทางบวกต่อการปรับตัวมากที่สุด คือ ทุนทางสังคม รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบเข้มแข็ง การสนับสนุนทางสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต และความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก ส่วนตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางอ้อมในทางลบต่อการปรับตัวของนิสิตนักศึกษา คือ ความกดดันด้านการเรียน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าอิทธิพลของตัวแปรสาเหตุที่มีต่อตัวแปรผลและค่าเฉลี่ยตัวแปรแฝงระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาชายและกลุ่มนิสิตนักศึกษาหญิงมีความแตกต่างกัน

คำสำคัญ : การปรับตัว,  การจากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อ,  นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1

 

 


Downloads

Published

2017-07-31

How to Cite

Kulchanathara, N., ชูชม อ., & กิจธรธรรม ว. (2017). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านจิตสังคมของการปรับตัวของนิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. The Periodical of Behavioral Science, 23(2), 23–42. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/80111