การพัฒนาเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ(Development of Instruments to evaluate Pre-School Children at La-or Utis Demonstration School)

Authors

  • รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล(Rungnapa Tangchitcharoenkhul) Lecturer in Educational Provision Management Project at Graduate Level, Suan Dusit Rajabhat University
  • ภาสิรี สังข์แก้ว(Pasiree Sungkaew) Researcher, Suan Dusit Rajabhat University
  • มัลลิกา ภู่พัฒน์(Mullika Poopath)
  • จันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล(Janpen Tangjitjaroenkun)

Abstract

The purposes of this research were to 1) to study and develop instruments to measure and evaluatepre-school children development 2) to verify effectiveness of those instruments and 3) to evaluatepre-school children development and evaluate growth of them. Qualitative data was collected fromreviewing sixty one Thai and foreign related literatures, in-depth interviewing of 6 experts and 20stakeholders (teachers and parents). Quantitative data was collected from teachers and parents of 72pre-school students at level three in La-or Utis Demonstration School. The research findingsshowed: 1) The developed instruments to measure and evaluate pre-school children methods werefound reach to the frame of indicators for measuring the development of pre-school children in threeparts: 1.1) the physical and movement composed of 4 indicators (health care, health habits, grossmotor abilities and movement, fine motor abilities) 1.2) cognitive composed of 5 indicators(perception, language, understanding and problem solving, basic mathematical abilities, rationalityabilities) and 1.3) emotional/psychological and social composed of 5 indicators (emotion/habit,social adaptation, morality, culture and environment conservation, discipline) as viewed by a groupof experts with index of congruency (IOC) at 1.00 2) The effectiveness verifying results of twodeveloped tests of pre-school childhood development (mathematic ability test and reasoning test)found that the item difficulty ranged from .38 and .80, the item discrimination ranged from .20 and.69 and reliability were .72 and .76 and the two developed assessment of early childhooddevelopment (teacher and parents assessment) as viewed by a group of expert with indexof congruency (IOC) at 1.00, reliability were .9167 and .8874 and discrimination ranged from.3400-.9216 and 3) the evaluated the growth of pre-school children development results found that all6 models (3 indicators x 2 evaluators) had changed in linear growth model. The 3 times of growthrate analyses of pre-school children development from teachers and parents evaluators found thatthe growth rate of November 2008 to January 2009 ranged from 0.265-0.418 and January 2009 toMarch 2009 ranged from 0.509-0.827. The initial means ranged from 1.698-2.145 and the slopemeans ranged from 0.415-1.068. The 6 models fitted nicely to empirical data.

Keywords: evaluation, measurement, pre-school children development

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบวัดและแบบประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแบบวัดและแบบประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อประเมินพัฒนาการ/แนวโน้มของพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเคราะห์เอกสารของประเทศไทยและต่างประเทศจำนวน 61 ฉบับ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ครูและผู้ปกครอง) รวม 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดคือครูและผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 72 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดและแบบประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้ย่อยตามกรอบแนวคิดในการวัดพัฒนาการของเด็กปฐมวัยสามด้าน คือ 1.1) ตัวบ่งชี้ด้านร่างกายและความเคลื่อนไหว รวม 4 ตัวบ่งชี้ย่อย (ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสุขนิสัย ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และการเคลื่อนไหว และด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก)1.2) ตัวบ่งชี้ด้านสติปัญญา รวม 5 ตัวบ่งชี้ย่อย (ด้านการรับรู้ ด้านภาษา ด้านความเข้าใจและการแก้ปัญหาความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และความมีเหตุผล) 1.3) ตัวบ่งชี้ด้านอารมณ์/จิตใจและสังคม รวม 5 ตัวบ่งชี้ย่อย (ด้านอารมณ์/ลักษณะนิสัย ด้านการปรับตัวเข้าสังคม ด้านความมีคุณธรรม ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อมและด้านความ มีวินัย) โดยมีดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิเท่ากับ 1.00 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของแบบวัดพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นทั้งสองฉบับ (แบบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความมีเหตุผล) มีค่าความยากระหว่าง .38-.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .20-.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.72 และ .76 และแบบประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นทั้งสองฉบับ (ฉบับครูและผู้ปกครอง) มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ระหว่าง .67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9176 และ .8874 และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .3400-.9216 และ 3) ผลการประเมินพัฒนาการ/แนวโน้มของพัฒนาการเด็กปฐมวัย พบว่าโมเดลโค้งพัฒนาการทั้ง 6 โมเดล (3 ตัวบ่งชี้ x 2 กลุ่มผู้ประเมิน) เป็นโมเดลพัฒนาการเชิงเส้นตรง ผลการวิเคราะห์อัตราการพัฒนาการทั้ง 3 ช่วงเวลา พบว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของทั้งกลุ่มผู้ประเมินครูและผู้ปกครองในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงเดือนมกราคม 2552 มีค่าเท่ากับ 0.265-0.418 ในช่วงเดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนมีนาคม2552 มีค่า 0.509–0.827 ค่าเฉลี่ยของคะแนนการวัดครั้งแรก (ML) เท่ากับ 1.698–2.145 และค่าเฉลี่ยของอัตราการเปลี่ยนแปลง (MS) เท่ากับ 0.415–1.068 ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ทั้ง 6 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

คำสำคัญ: การประเมิน การวัด พัฒนาการเด็กปฐมวัย

Downloads

Published

2012-03-15

How to Cite

ตั้งจิตรเจริญกุล(Rungnapa Tangchitcharoenkhul) ร., สังข์แก้ว(Pasiree Sungkaew) ภ., ภู่พัฒน์(Mullika Poopath) ม., & ตั้งจิตรเจริญกุล(Janpen Tangjitjaroenkun) จ. (2012). การพัฒนาเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ(Development of Instruments to evaluate Pre-School Children at La-or Utis Demonstration School). The Periodical of Behavioral Science, 18(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/831