การพยาบาลผู้สูงอายุภาวะซึมสับสนเฉียบพลันที่เข้ารับการดูแลแบบผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • Nitikul Boonkaew Faculty of nursing, Eastern Asia University

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน, การประเมินภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน, การพยาบาลภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน, ผู้ป่วยหนัก, การผ่าตัด, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน (delirium/acute confusion) เป็นปัญหาที่ถูกมองข้ามในผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นร่วมกับความเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่า แต่กลับพบว่าภาวะซึมสับสนเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังเช่นการพร่องการรับรู้ การรู้คิด ทำให้ต้องนอนรักษาตัวในอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยสูงอายุมีกิจกรรมทางกายด้วยตนเอง หรือเคลื่อนไหวด้วยตนเองให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันโรคพร่องกล้ามเนื้อ (Sarcopenia) ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุฟื้นฟูร่างกายยากขึ้น พยาบาลควรพิจารณาการใช้ยาในผู้สูงอายุร่วมกับทีมสุขภาพ โดยเฉพาะการใช้ยารักษาภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน ควรใช้ยาในขนาดต่ำและหยุดใช้ยาให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะมีความเจ็บป่วยแตกต่างกัน จึงได้รับการดูแลต่างกัน วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมสับสนเฉียบพลันในแต่ละบริบท ได้แก่ ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน และการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมสับสนเฉียบพลันตามบริบทของความเจ็บป่วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-27