การประเมินความคุ้มค่าทางด้านการจราจรและพลังงานในการลงทุนก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกถนนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Jaran Ratanachotinun Faculty of Science, Chandrakasem Rajabhat University

คำสำคัญ:

อุโมงค์ลอดทางแยก, มูลค่าเวลาการเดินทาง, การประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง, ความคุ้มค่าการลงทุน

บทคัดย่อ

การประเมินความคุ้มค่าทางด้านการจราจรและพลังงานในการลงทุนก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกถนนในกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาความเหมาะสมในการลงทุนที่ได้รับจากสภาพการจราจรและพลังงานหลังจากมีการใช้อุโมงค์ลอดทางแยก จากตัวอย่างอุโมงค์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ พบว่า การก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกในกรุงเทพมหานครมีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 949,476 บาท/เมตร/อุโมงค์ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากมูลค่าเวลาเดินทางและน้ำมันเชื้อเพลิงที่สามารถประหยัดได้รวมเฉลี่ยเท่ากับ 18,377,011 บาท/ปี/อุโมงค์ และมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยเท่ากับ 40.53 ปี/อุโมงค์ อุโมงค์ลอดทางแยกในกรุงเทพมหานครสามารถแก้ไขปัญหาสภาพจราจรที่ติดขัดโดยให้ความสำคัญเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 90 ของปริมาณจราจรทั้งหมด สภาพจราจรหลังจากการใช้อุโมงค์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสภาพจราจร มีความเร็วการเดินทางเฉลี่ยของการใช้งานอุโมงค์ทางลอดแยกในกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 13.33% จากความเร็วเดิมก่อนสร้างอุโมงค์ มูลค่าเวลาเดินทางที่ประหยัดได้จากอุโมงค์ลอดทางแยกเฉลี่ยเท่ากับ 14,137,337 บาท/ปี/อุโมงค์ มูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้จากอุโมงค์ลอดทางแยกเฉลี่ยเท่ากับ 4,239,674 บาท/ปี/อุโมงค์ ความคุ้มค่าการลงทุนเปรียบเทียบกับมูลค่าของเวลาการเดินทางและพลังงานเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ พบว่า ยังไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเพราะมีระยะเวลาการคืนทุนที่ยาวถึง 40 ปี การลงทุนเพื่อพัฒนาการเดินทางในกรุงเทพมหานครที่เหมาะสมควรสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะและขนาดใหญ่จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเป็นการแก้ไขปัญหาการเดินทางในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20