ความถูกต้องของการประเมินผลการปฎิบัติงานโดยใช้ CAKE

Validity of Performance Appraisal Using CAKE

Authors

  • สมทรง รักษาพล
  • ดนัย ปัตตพงศ์

Keywords:

การประเมินผลงาน, ความถูกต้อง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานที่มีการประเมินผลการปฎิบัติงานโดยใช้ CAKE (2) ปัญหาความซ้ำซ้อนของดัชนีที่ใช้ใน CAKE  (3) ความเป็นไปได้ที่จะมีการลดรูปดัชนีที่ใช้ใน CAKE  ให้น้อยลง  (4) ประเมินความถูกต้องของ CAKE ในการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานในชั้นต้น ประชากรได้แก่พนักงานของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง จำนวน 1,242 คนที่ทำงานอยู่ในโรงงานสี่แห่ง ในงานวิจัยนี้ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฟอรม์การประเมินของ CAKE ที่ประกอบด้วยดัชนี 18 ตัวซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 1-4 รวมกับคะแนนวินัยของการมาทำงาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่สถิติเชิงพรรณา (ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (ประกอบด้วย Pearson’s correlation coefficient, factor analysis, multinomial logistic regression)  ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า  การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น โดยใช้ Cronbach’s alpha ค่าความเชื่อมั่นของกลุ่มดัชนี C อยู่ในระดับที่ดี (good) กลุ่มดัชนี K และ E อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (acceptable)  ส่วนกลุ่มดัชนี A นั้นอยู่ในระดับต่ำ (poor) ผลการวิเคราะห์ตรวจหาความซ้ำซ้อนโดยใช้ Pearson’s correlation coefficient พบว่าการประเมินโดยใช้ CAKEไม่น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องกังวล ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลดรูปดัชนีตาม CAKE โดยใช้ factor analysis พบว่าทุกดัชนีล้วนมีส่วนในการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงาน ผลการใช้ weighted scores และ multinomial logistic regression พบว่า การประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานตามแนวของ CAKE มีความแม่นยำในการแยกแยะพนักงานออกเป็นระดับได้อย่างถูกต้องเกินร้อยละ 98

Downloads

Published

2018-04-03

Issue

Section

บทความวิจัย