การจูงใจให้เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ของธนาคารมีพฤติกรรมเชิงรุก

Motivating Bank’s Business Relationship Personnel to Adopt Proactive Behavior

Authors

  • สมเกียรติ ล้อมทอง
  • ดนัย ปัตตพงศ์

Keywords:

การจูงใจ, ธนาคาร, พฤติกรรม

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ สำนักธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด (2) ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการทำงาน (3) การแสดงพฤติกรรมเชิงรุก และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมเชิงรุก ของประชากร   รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรได้แก่เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์จำนวน 219 คน ในงานวิจัยนี้ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ปัจจัย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงอายุ 21–30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 35,000 บาท อายุการทำงานในธนาคารและตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์น้อยกว่า 5 ปี ผลการศึกษาพบว่าแรงจูงใจในการทำงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แรงจูงใจด้านบรรยากาศการทำงานที่เอื้ออำนวยและความสมดุลของชีวิตการทำงาน แรงจูงใจที่มาจากการมีเครื่องมือที่ทันสมัย  แรงจูงใจใฝ่ก้าวหน้าและผลตอบแทน ตามลำดับ และ พบว่า โดยรวมพฤติกรรมเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้าน พฤติกรรมเชิงรุกในด้านไม่ผลัดวันประกันพรุ่งและยอมรับในความผิดพลาด  พฤติกรรมเชิงรุกที่เป็นการเรียนรู้และปรับตัว และพฤติกรรมเชิงรุกในการรักษาและขยายฐานลูกค้า  อนึ่งพบว่า แรงจูงใจ ทั้ง 9 ด้าน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงรุก อย่างไรก็ตามค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ มีค่าอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำเท่านั้น  จึงน่าจะมีแรงจูงใจด้านอื่นๆ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อพฤติกรรมเชิงรุกเพิ่มเติมกว่าที่ได้นำมาศึกษาอีก ซึ่งควรมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป

Downloads

Published

2018-04-03

Issue

Section

บทความวิจัย