การวิเคราะห์ปัญหาของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มสินค้า OTOP ตำบลคลองโยง จังหวัดนครปฐม

Analysis of the Electronic Commerce System of OTOP Entrepreneurs in Klongyong District, Nakhon Pathom Province

Authors

  • อนุช นามภิญโญ วิทยาลัยโลจิสติกส์และวัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • กิตติอำพล สุดประเสริฐ วิทยาลัยโลจิสติกส์และวัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

Keywords:

ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์; ผู้ประกอบการกลุ่มสินค้า OTOP; ตำบลคลองโยง จังหวัดนครปฐม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มสินค้า OTOP ตำบลคลองโยง  จังหวัดนครปฐมกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้ประกอบการกลุ่มสินค้า OTOP และ 2) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มาใช้บริการที่จำหน่ายสินค้า OTOPโดยศึกษากับกลุ่มผู้ประกอบการสินค้า OTOP จำนวน  250 ตัวอย่าง ที่ใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาค โดยแบบสัมภาษณ์ภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามมีค่า 0.89, 0.84 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย 1) ประเด็นด้านผู้ประกอบการ OTOP พบว่า ส่วนใหญ่เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 58.25มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 54.50 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 71.80 ซึ่งผู้ให้ข้อมูลมีสถานภาพในกลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม OTOP คิดเป็นร้อยละ 81.07 โดยแบ่งประเภทของสินค้า OTOP ออกเป็น 5ประเภท คือ สินค้าของที่ระลึกตกแต่ง คิดเป็นร้อยละ 57.71 รองลงมาเป็นสินค้าสมุนไพร คิดเป็นร้อยละ 35.35 สินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป  คิดเป็นร้อยละ 58.86และสินค้าประเภทเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 8.66 รูปแบบของธุรกิจส่วนใหญ่เป็นเจ้าของรายเดียว คิดเป็นร้อยละ 61.51 มีระยะเวลาในการประกอบธุรกิจอยู่ระหว่าง 5-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 81.28 เมื่อจำแนกตามจำนวนสินค้าที่จำหน่ายได้ต่อเดือน สินค้าประเภทเครื่องดื่มจำหน่ายได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.71   จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ OTOP ตำบลคลองโยง  จังหวัดนครปฐม เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้ประกอบการ OTOP มีความพร้อมและความสามารถของธุรกิจ เมื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของกิจการเมื่อนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะทำให้ทั้งปริมาณการขาย ยอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads

Published

2018-08-15

Issue

Section

บทความวิจัย