ประสิทธิภาพของวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนด้วยวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์และ วิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูก

Main Article Content

Natthaporn Lekhawatthanapong
Kittitas Wancham
Siwachoat Srisuttiyakorn

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพของวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนด้วยวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์และวิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูก มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบค่าประมาณความเที่ยงของแบบสอบที่ให้คะแนนความรู้บางส่วนระหว่างวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์กับวิธีให้คะแนนแบบตัดตัวลวงเลือกตัวถูก
(2) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างค่าความสามารถจริงกับค่าประมาณความสามารถระหว่างวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์และวิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูก และ (3) เปรียบเทียบฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบระหว่างวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์กับวิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูก ข้อมูลที่ใช้จำลองด้วยวิธีการมอนติคาร์โลภายใต้สถานการณ์ที่แบบสอบหลายตัวเลือก จำนวน 4 ตัวเลือก มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ 30 ข้อ และ 40 ข้อ และมีจำนวนผู้สอบ 1,000 คน แต่ละสถานการณ์กระทำซ้ำจำนวน 10 รอบ ประสิทธิภาพของวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนพิจารณาจากความเที่ยงของแบบสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถจริงกับความสามารถที่ได้จากการประมาณค่า และฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทาง (two-way MANOVA)


          ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบสอบที่ให้คะแนนด้วยวิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูกมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาคสูงกว่าวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแบบสอบที่มีจำนวน 40 ข้อ มีความเที่ยงสูงกว่าแบบสอบที่มีจำนวน 30 ข้อ และ 20 ข้อ ตามลำดับ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถจริงกับความสามารถที่ได้จากการประมาณค่าจากวิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูกมีค่าสูงกว่าความสัมพันธ์ที่ได้จากวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแบบสอบที่มีจำนวน 40 ข้อ จะมีค่าความสัมพันธ์สูงกว่าแบบสอบที่มีจำนวน 30 ข้อ และ 20 ข้อ ตามลำดับ และ (3) วิธีตัดตัวลวงเลือกตัวถูกมีฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบสูงกว่าวิธีการประยุกต์วิธีของคูมบ์ โดยเฉพาะในช่วง                  ค่าความสามารถของผู้สอบระดับปานกลางและสูง ทั้งแบบสอบที่มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ 30 ข้อ และ 40 ข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)