กลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

หอมจันทร์ จรรยาเอก
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์
สงวนพงศ์ ชวนชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และมีวัตถุประสงค์รองคือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อประเมินและตรวจสอบยืนยันกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จากกรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาได้คุณภาพมาตรฐาน จำนวน 10 วิทยาลัย สัมภาษณ์ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 3 คน และจัดกลุ่มสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 สร้างกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จากผลของข้อมูลที่สังเคราะห์ได้จากการศึกษาในระยะที่ 1 นำมาสร้างกลยุทธ์และตรวจสอบคุณภาพ ได้ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นระดับสูง ระยะที่ 3 สร้างแบบประเมินกลยุทธ์และตรวจสอบยืนยันกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการมีประโยชน์ และตรวจสอบยืนยันในสถานการณ์จริงกับผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 50 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ผลการวิจัยพบว่า


1. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนมีปัญหาความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย ปัญหาด้าน  การเรียนรู้ของนักศึกษา ปัญหาด้านการใช้แหล่งการเรียนรู้ ปัญหาด้านการจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ปัญหาด้านการจัดการความรู้ ปัญหาด้านผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม และปัญหาด้านสื่อและเทคโนโลยี


2. กลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 2) กลยุทธ์การใช้แหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ 4) กลยุทธ์การพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ของบุคลากรและนักศึกษา 5) กลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้ของบุคลากร และ 6) กลยุทธ์การใช้สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้


3. ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการมีประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ปรากฏว่า ในภาพรวม ด้านความเหมาะสม และด้านการมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.56, 4.50 ตามลำดับ) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( X= 4.25) และผลการตรวจสอบยืนยัน  กลยุทธ์ โดยผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 50 คน ปรากฏว่าในภาพรวม ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านการมีประโยชน์อยู่ในระดับมากทุกด้าน ( X= 4.28, 4.10 และ 4.42 ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย