โปรแกรมพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อุดมพร กันทะใจ
วัลลภา อารีรัตน์
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างโปรแกรมพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านไอซีที 2) สร้างโปรแกรมพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านไอซีที และ3) ประเมินผลการใช้โปรแกรมพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านไอซีที  ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่  ระยะที่ 1  การพัฒนาโปรแกรม ระยะที่ 2  การตรวจสอบและปรับปรุงโปรแกรม และ ระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลโปรแกรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้  t – test และ Wilcoxon Signed Ranks Test   ผลการวิจัยพบว่า


              1. สภาพปัจจุบัน การบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านไอซีทีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับปานกลาง     สภาพปัญหาอยู่ในระดับมากและความต้องการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านไอซีทีสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานเรียงลำดับดังนี้การบริหารเชิงกลยุทธ์  การบริหารไอซีที การจัดทำแผนพัฒนาไอซีทีระยะ3 – 5 ปี การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีไอซีที การจัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรม   BSC และ KPI ตามลำดับ


            2. โปรแกรมฯ มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล  วัตถุประสงค์   เนื้อหา  กิจกรรมการพัฒนา  สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล ในรูปของชุดโมดูล จำนวน 5 โมดูล ได้แก่ โมดูลที่ 1 การบริหารไอซีที โมดูลที่ 2การบริหารเชิงกลยุทธ์  โมดูลที่ 3 การวางแผนกลยุทธ์ โมดูลที่ 4 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และโมดูลที่ 5 การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ แต่ละโมดูลประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การประเมินผลก่อนพัฒนา เนื้อหา  กิจกรรมการพัฒนา สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการประเมินผลหลังพัฒนา ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่าโปรแกรมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความถูกต้องตามหลักการโดยรวมอยู่ในระดับมาก


              3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลโปรแกรมฯ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ เจตคติ และทักษะการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านไอซีที หลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

Section
บทความวิจัย