การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมือง ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • ถิรวุฒิ ธนวิชเพียรพาก
  • จรูญศรี มาดิลกโกวิท, รองศาสตราจารย์ ดร.
  • วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัย, อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมือง, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, THE LEARNING PROCESSES ABOUT RESIDENCES, RESIDENCES OF URBAN CONSUMERS, THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่อยู่อาศัยในอาคารชุดพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดจำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกผู้บริโภคแบบกำหนดโควต้า แบ่งเป็นผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยระดับราคาสูงจำนวน 10 คน ผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลางจำนวน 10 คน และผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยระดับราคาต่ำจำนวน  10 คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัยจำนวน 10 คน ผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ 1) การตระหนักในปัญหา 2) การเรียนรู้และวางแผนการปฏิบัติ 3) การลงมือปฏิบัติ และ 4) การติดตามประเมินผล ซึ่งสังเคราะห์เป็นกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ทั้งหมด 3 ด้าน คือ 1) กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างมีเหตุผล โดยผู้บริโภคมีการใช้งานและการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์อย่างมีเหตุผล  2) กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างพอประมาณ โดยผู้บริโภครู้จักประมาณตนในการวางแผนทางการเงินและพอประมาณในการใช้จ่าย และ 3) กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างมีภูมิคุ้มกัน โดยผู้บริโภครู้เท่าทันถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ในส่วนการนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) ด้านกายภาพ จัดทำคู่มือการใช้งานวัสดุอุปกรณ์และแชร์ประสบการณ์กันอย่างมีเหตุผล 2) ด้านการเงิน จัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เกิดความพอประมาณในการใช้จ่าย 3) ด้านการบริหารจัดการ จัดสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรู้เท่าทันในการมีส่วนร่วม และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม จัดฝึกการคัดแยกขยะอย่างมีเหตุผลโดยฝึกปฏิบัติจริงโดยรู้เท่าทันปัญหามลพิษทางขยะ ซึ่งแนวทางดังกล่าว จะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีการอยู่อาศัยอย่างเกิดความพอดี และสามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตภายในที่อยู่อาศัยได้อย่างเกิดความพอเพียง

This research has the following objectives: (1) to analyze the learning processes about residences of  urban consumers based on the philosophy of sufficiency economy and (2) to present guidelines for enhancing the learning processes about residences of urban consumers based on the philosophy of sufficiency economy. The sampling group for this research is from residences of urban consumers in Bangkok. The research comes from indepth interview from the 30 urban residences. This research select the quota of urban consumers: 1) 10 urban consumers of high price residences 2) 10 urban consumers of medium price residences and 3) 10 urban consumers of low price residences and 10 urban residential experts from focus group. The analyzed result about the learning processes about residences of urban consumers based on the philosophy of sufficiency economy consist of 4 steps: 1) realizing on the problems 2) learning and planning the operation 3) operating and 4) evaluating. These are analyzed into                       the learning processes based on the philosophy of sufficiency economy in 3 parts: 1) learning processes about residences reasonable: use and maintain the instruments reasonably 2) learning processes about residences properly for the consumers: have financial plan and expense properly and 3) learning processes about residences protective: realize on the participation in any activities for making a decision on residential solution. The guidelines for the enhancing the learning processes about residences of urban consumers based on the philosophy of sufficiency economy consist of  4 parts: 1) physical part - It should make the instrument manual and sharing to each other reasonable 2) financial part - it should make a household account for properly expense 3) managing part - having a place for participatory activities in public 4) environmental part - training to separate the waste properly by doing and realizing on waste pollution.  These guidelines can help the consumers living together well and adaptable within the residences sufficiently.

Author Biographies

ถิรวุฒิ ธนวิชเพียรพาก

นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จรูญศรี มาดิลกโกวิท, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษาภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

ธนวิชเพียรพาก ถ., มาดิลกโกวิท จ., & กิจนันทวิวัฒน์ ว. (2017). การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมือง ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. Journal of Education Studies, 45(3), 66–82. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107347