อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนจากการตีความของนักศึกษา

Authors

  • วิศรุต ตันติพงศ์อนันต์

Keywords:

SOCIAL AND CULTURE IDENTITIES, ASIAN COUNTRIES, INTERPRETATION OF STUDENTS

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนกับการตีความของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีความของนักศึกษาที่มีต่ออัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามตามวิธีของลิเคิร์ท 5 ระดับ (Likert’s Scale) จำนวน 56 ข้อ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 8 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA) ด้วยวิธี Stepwise นำไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

          ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยมีระดับการรับรู้อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และการรับรู้อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับการตีความของนักศึกษา เมื่อพิจารณาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตีความของนักศึกษาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านสถานที่ท่องเที่ยว ( gif.latex?\beta=.314) การแต่งกาย ( gif.latex?\beta=.156) ประเพณี (gif.latex?\beta =.144) ศาสนา ( gif.latex?\beta=.108) ศิลปะการแสดง (gif.latex?\beta =.104) และ อาหาร (gif.latex?\beta =.101) ตามลำดับ และผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักศึกษาได้ในทุกระดับการศึกษาในอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อไป

Author Biography

วิศรุต ตันติพงศ์อนันต์

อาจารย์ประจำสาขาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Downloads

Published

2018-12-28

How to Cite

ตันติพงศ์อนันต์ ว. (2018). อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนจากการตีความของนักศึกษา. Journal of Education Studies, 46(4), 386–400. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/163472