การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิริกร ทิติยวงษ์
สายสุดา เตียเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ สถานศึกษาของรัฐที่จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรองฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูรวมทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของเดวิส (Davis) กับการบริหารงานวิชาการตามแนวทางของหน่วยศึกษานิเทศก์สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน

2. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม แบบคณะกรรมการบริหารระดับกลาง แบบปรึกษาหารือ และแบบให้ข้อเสนอแนะส่งผลต่อ การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

PARTICIPATIVE ADMINISTRATION AFFECTING ACADEMIC ADMINISTRATION IN SCHOOL UNDER BANGKOK METROPOLITAN

The purposes of this research were to determine 1) participative administration in school under Bangkok Metropolitan 2) the academic administration in school under Bangkok Metropolitan 3) participative administration affecting academic administration in school under Bangkok metropolitan. The samples were 205 school under Bangkok Metropolitan. The respondents were school directors or deputy directors in academic, head of department, and teachers with the total number of 615. The instrument was a questionnaire about participative administration on the concept of Davis and academic administration regarding the framework of the academic administration educational supervisor Bangkok Metropolitan. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows :

1. participative administration in School under Bangkok Metropolitan, was at a high level in overall and individual.

2. the academic administration in School under Bangkok Metropolitan, was at a high level in overall and individual.

3. the participative administration in middle management committees, consultative management, and suggestion programs affected to the academic administration in School under Bangkok Metropolitan. at 0.05 level of significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย