ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ชินโชติ นาไพรวัน
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยจำแนกเป็นด้านบุคคล ลักษณะงานและบทบาทหน้าที่ ประสบการณ์จากการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t – test)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (\inline \dpi{100} \bar{X}= 4.32) และด้านเทคนิคขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (\inline \dpi{100} \bar{X}= 4.24) มีค่าคะแนนอยู่ในระดับการปฏิบัติงานสูงมาก นอกจากนี้ การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำแนกตาม คุณลักษณะประชากร พบว่า การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำแนกตามประเภทบุคลากร จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามระยะเวลาเริ่มปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

FACTORS AFFECTING THE PERFORMANCE OF SUPPORTING STAFF, KHON KAEN UNIVERSITY

This research aimed to 1) study the work style of the support staff of Khon Kaen University to compare the difference between personal factors and the work style of the support staff and 2) study the problems and 3) give recommendations on guidelines for managing the support staff. The research tool was a questionnaire on factors which affect the work style of the support staff which included questions on personal data, characteristics of work and duties, working experience, and working efficiency. Statistics used for analysis were percentage, mean, and standard deviation with a t-test, One-Way

ANOVA, and multiple comparisons with Cheffe’s method. Reliability was significantly determined at the level of .05. The research results showed that factors which affect the work style consisted of relationship with colleagues (\inline \dpi{100} \bar{X}= 4.32) and working steps (\inline \dpi{100} \bar{X}= 4.24) According to a comparison of the factors which affected the work style of the support staff, the researcher found that working duration was significantly different between positions at the level of .05.

Article Details

บท
บทความวิจัย