การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา กลุ่มกรุงเทพกลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปภาวดี โพธิสาร
สัมมา รธนิธย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลง สู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา และ (2) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method)โดยการใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.8-1.0 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์เพื่อนำมาวิเคราะห์จำนวน 255 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 89.47 แล้ววิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติที่เป็นความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีความเที่ยงตรงระหว่าง 0.8-1.0 ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหารที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 10 คนแล้วตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยเทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า(Triangulation)แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อสรุปผล

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มกรุงเทพกลาง สังกัดกรุงเทพมหานครโดยรวมและแต่ละขั้นตอนอยู่ในระดับมากทุกขั้นตอน เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกเรื่อง โดยการสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง มีการกระตุ้นบุคลากร โดยการประชาสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม มีการจัดเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรม และการจัดนิทรรศการ จัดป้ายนิเทศ จัดมุมอาเซียน การวางแผนการเปลี่ยนแปลง มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเปลี่ยนแปลง กระบวนการในการทำงานอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งจัดอบรมบุคลากร ปรับปรุงหลักสูตร แผนปฏิบัติงานทุกกลุ่มสาระ การดำเนินการเปลี่ยนแปลง มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบงาน การมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ การติดตามและการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง มีการนิเทศติดตามผล ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การนำผลการประเมินมาใช้ดำเนินการทบทวน ปรับปรุง และสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่ กำหนดไว้ การรักษาผลการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา มีการให้รางวัลกับพฤติกรรมการทำงานตามแนวทางใหม่ จัดสภาพการทำงานในสถานศึกษาให้เอื้ออำนวย กำหนดมาตรฐานการทำงาน นำแนวคิดการเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียนกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อการสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และทักษะต่าง ๆ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

2. แนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มกรุงเทพกลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สถานศึกษาควรมอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มสาระต่าง ๆ สอดแทรก บูรณาการหรือกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเข้าไปในหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนควรเน้นการพัฒนาด้านภาษา นอกจากภาษาอังกฤษแล้วควรมีภาษาอาเซียนเป็นภาษาที่สามเพื่อการสื่อสารควรส่งเสริมให้บุคลากรไปอบรม สัมมนา หรือศึกษาต่อต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยน ผสมผสานวัฒนธรรมในสังคมอาเซียนนอกเหนือจากความรู้หรือวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นและควรกำหนดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา ตลอดจน ติดตามตรวจสอบ ทบทวนการดำเนินงาน และปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

THE CHANGE MANAGEMENT TOWARD ASEAN COMMUNITY OF SCHOOL ,CENTRAL BANGKOK GROUP UNDER BANGKOK METROPOLITAN

The purpose of this mix method survey research was: 1) to study the level of changing management toward ASEAN Community of school and 2) to suggest the guidelines to develop schools’ change management toward ASEAN Community in the Central Bangkok Group under Bangkok Metropolitan. there are 285 questionnaires which were 0.97 reliability and 0.80-1.00 line item validity were sent out to school administrators and teachers. 255 (89.47 percentage) were completed to be analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. And also, using the constructed interview, 0.81-1.00 line item validity interviewed 10 school administrators, checked the data correction with triangulation technique, and be analyzed by content analysis.

The research findings were as follows:

1. The level of change management toward ASEAN Community of school in overall ,each steps and each items was at the high level. The qualitative data showed that they used public relation to motivate personnel, had a chance for staffs to be cooperated, sent their staff to join seminar for preparing English communication readiness, established the exhibition, board and ASEAN corner in the step of change awareness establishment, assigned the responsible person to implement work’s change process systematically, also set the personnel training, developed curriculum and operational plan every content group in the step of change planning, improved working structure, assigned person to take responsibility, followed up and evaluated the change, supervised, followed up, evaluated continuously, brought up the evaluation results to revise, improve, support to be completed the target appointed in the step of change implementation, gave rewards for new working behavior, arranged surrounding to provide school work, set the work standard, brought the concept of change to ASEAN community as a part of policy to support personnel improving themselves, changing their attitude and various skills suitable to change movement in the step of change results defending.

2. The suggestion were as follows: schools should assign the head of various content group to integrate or assign the content of ASEAN community into school curriculum clearly, should emphasize the language development, English and ASEAN language as the third language for ASEAN communication, should promote the personnel to be trained, taken the seminar, or studied foreign countries exchanging and assimilating ASEAN culture besides the more knowledge or higher educational degree their get, should set up the ASEAN activities in school’s operational plan and also follow up and revise operation and develop continuously.

Article Details

บท
บทความวิจัย