การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมวัย พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

รัสรินทร์ ภัทรพรไพศาล
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามกรอบ PDCA ของสถานศึกษาระดับปฐมวัย พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมวัยพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าระดับฝ่ายปฐมวัย จำนวน 5 คน ใช้สำหรับการสัมภาษณ์ และผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการ 1 คน ครูที่รับผิดชอบในระดับอนุบาล 3 คน รวมทั้งสิ้น 4 คน จากโรงเรียนอนุบาลสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 103 โรงเรียน เป็นจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 412 ฉบับ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน และได้รับตอบกลับคืนมาจำนวน 384 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ Content Analysis ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัย พบว่า

1. แหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมวัย พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ส่วนใหญ่ได้นำหลักการวงจรคุณภาพ PDCA มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้

2. การบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมวัย พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า ระดับการปฏิบัติตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับปฏิบัติมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด คือ ด้านการวางแผน รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนา ด้านการทบทวน และด้านปฏิบัติงาน ตามลำดับ โดยทุกด้านมีระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับมากเหมือนกัน

3. ระดับการปฏิบัติงานด้านการวางแผนงาน (P) มีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติมาก โดยประเด็นที่มีการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ การกำหนดแผนงานงบประมาณตลอดปีการศึกษา และประเด็นที่มีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือ ประเด็นจัดทำคู่มือการใช้แหล่งเรียนรู้อย่างถูกต้องชัดเจน

4. ระดับการปฏิบัติงานด้านการปฏิบัติงาน (D) มีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติมาก โดยประเด็นที่มีการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ การประชุมบุคลากรให้เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน และประเด็นที่มีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือ ประเด็นจัดทำ Flow Chart เพื่อแสดงขั้นตอนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้

5. ระดับการปฏิบัติงานด้านการทบทวน (C) มีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติมาก โดยประเด็นที่มีการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ทบทวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย และประเด็นที่มีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือ ประเด็นทบทวนคู่มือการใช้แหล่งเรียนรู้ให้มีความถูกต้องชัดเจน

6. ระดับการปฏิบัติงานด้านการพัฒนา (A) มีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติมาก โดยประเด็นที่มีการปฏิบัติงานมากที่สุด2 ประเด็น คือ สร้างบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย และสร้างแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยประเด็นที่มีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือ ประเด็นระบบสารสนเทศที่ทันสมัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

7. แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมวัยพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามวงจรคุณภาพ PDCA อันดับแรกจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน คือ พัฒนาคู่มือการใช้แหล่งเรียนรู้ให้มีความถูกต้องชัดเจน และสามารถนำคู่มือไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ด้านการปฏิบัติงาน คือ จัดทำ Flow Chart แสดงขั้นตอนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติงานแก่ผู้ปกครองหรือผู้มารับบริการด้านการทบทวน คือ ทบทวนประสิทธิภาพของคู่มือการใช้แหล่งเรียนรู้ให้มีความถูกต้องชัดเจน หากพบจุดบกพร่องควรมีการปรับปรุงและพัฒนาใหม่ และด้านการพัฒนา คือ พัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

 

THE LEARNING RESOURCE MANAGEMENT FOR KINDERGARTEN SCHOOL BANGKOK EDUCATIONAL SERVICE AREA 1

This research emphasizes on the management of learning source in primary school in Bangkok area district 1. The purposes of this research are as follows:1) To study the management of learning source in accordance of PDCA cycle among primary schools in Bangkok area district 1. 2) To come up with development method for learning source management in primary school in Bangkok area district 1. The population consists 5 of school management or head chief of primary level for conducting an interview and 1 school principle, 3 kindergarten teachers in the total of 4 persons each from 103 schools. Therefore, the total amount of 412 questionnaires was sent using Craig C and Morgan’s random sample method, of which 93% (384) of questionnaires was returned and used as a tool to collect data for interview. The questionnaire in this research has been tested directly by the expert and the statistical methods that carried throughout this research are content analysis, frequency, percentage, mean and standard deviation. The result of this research are as followed:

1. The majority of primary schools in Bangkok area district 1 adopt the PDCA principle to practice and manage the learning source.

2. The level of PDCA cycle’s practice is very high among learning source in primary schools in Bangkok area district 1. Whereas the best practice is during the Planning phase, developing, checking and acting consecutively.

3. The level of Plan is considerably high in act. The highest focus is the planning for annual budget for academic year and the least focus is conducting proper tools for clear learning sources.

4. As for “D”, the level of operation is also high where the most practice lies on the human resource meetings to bring forth the same direction and goals among organization.

5. The level of Check has high implementation in act where the highest effort is in checking the past experience from the learning through activities in various learning source for development of children in primary level. The least effort is the checking of the tool for learning source whether they are clear and correct.

6. There is high level of exercising in “A” act cycle. Two major active operations are to create the atmosphere of the learning center in school that is proper for development of primary children; to build a development method for managing the learning center. The least practice is updating the system of the learning center for the primary school children.

7. Development method for management of learning source in primary schools in Bangkok district 1according to PDCA cycle shows that in Plan phase, developing the manual for learning source to be clear and applicable for the operation.

Article Details

บท
บทความวิจัย