ความสัมพันธ์ของการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในกับความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา

Main Article Content

ณิชชยานันท์ นันท์อาณาเขต
สายสุดา เตียเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา 2) ความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ของการดำเนินงานการ ประกันคุณภาพภายในกับความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย คือ โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 15 คน และฝ่ายปฏิบัติ ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 15 คน รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 กับความพึงพอใจ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (\dpi{100} \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์กลุ่ม สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อย

3. การดำเนินงานการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ในภาพรวม ส่วนรายด้าน พบว่า การจัดทำแผน พัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และการจัดให้มีการติดตามตรวจ สอบคุณภาพการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา

 

RELATIONSHIP BETWEEN INTERNAL QUALITY ASSURANCE IMPLEMENTATION AND SATISFACTION ON STUDENT’S ACHIEVEMENT OF UDOMSITTHISUKSA SCHOOL 

The purpose of this study were to determine  1)  the implementation of internal quality assurance of Udomsitthisuksa school,  2)  the satisfaction on student’s achievement of Udomsitthisuksa  school  and 3) the relationship  between  the internal quality assurance implementation and satisfaction on student’s  achievement of Udomsitthisuksa school. The sample was Udomsitthisuksa  school. The respondents consisted of two different groups as : administrators  and  teachers totally 30 persons. The questionnaire was the instrument  for collecting  data regarding  the implementation of internal quality assurance of school based on the concept of Ministry of Education and the satisfaction on student’s achievement . The data were  analyzed  by using percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s  product  moment  correlation  coefficient.

The research findings revealed that:  

1. The implementation of internal quality assurance of Udomsitthisuksa school, as a whole  and as an individual were at  a high level.  

2. The satisfaction on student’s achievement of Udomsitthisuksa school, as a  whole  at a moderate level. When considering aspects found that the satisfaction on student’s achievement of Substance health education and physic education learning group  was a highest level, the satisfaction on student’s achievement of  Art Learning Substance Group was a high level and the satisfaction on student’s achievement of  Substance Learning Work Occupation Group and Technology was an average level.  

3. The implementation of internal quality assurance did not relate to the satisfaction on student’s achievement of Udomsitthisuksa school as a whole but as an individual found that the educational development plan aimed at quality standards of educational institutions and monitoring the quality of education related to the satisfaction on student’s achievement of Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture by having significantly statistics at .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย