คุณภาพการบริการของกองกิจการนิสิต (กำแพงแสน) กับคุณภาพชีวิตของ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

อมรพิมล พิทักษ์
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณภาพการบริการของกองกิจการนิสิต (กำแพงแสน) 2) คุณภาพชีวิตของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการของกองกิจการนิสิต (กำแพงแสน) กับคุณภาพชีวิตของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์วิทยาเขตกำแพงแสน กลุม่ ตัวอยา่ง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการบริการของกองกิจการนิสิต (กำแพงแสน) ตามแนวคิดของพาราซูรามาน ไซทาม และเบอร์รี่ (Parasuraman, Zeithaml and Berry) กับคุณภาพชีวิตของนิสิตตามแนวคิดขององค์การอนามัยโลก สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพการบริการของกองกิจการนิสิต (กำแพงแสน)โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ด้านความไว้วางใจ ด้านความน่าเชื่อถือของบริการ และด้านการเข้าถึงจิตใจ ตามลำดับ

2. คุณภาพชีวิตของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ตามลำดับ และอยู่ในระดับน้อย 1 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม

3. คุณภาพการบริการของกองกิจการนิสิต (กำแพงแสน) กับคุณภาพชีวิตของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

SERVICE QUALITY OF STUDENT AFFAIRS SERVICE DIVISION AND UNDERGRADUATE STUDENT’S QUALITY OF LIFE AT KASETSART UNIVERSITY, KAMPHAENG SAEN CAMPUS

This research aimed to identify 1) service quality of Student Affairs Service Division ; 2) the undergraduate student’s quality of life at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus ; and 3) the relationship
between service quality of Student Affairs Service Division and the undergraduate student’s quality of life at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. The sample was 361 undergraduate students of Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. The research instrument was a questionnaire, regarding service quality based on Parasuraman, Zeithaml and Berry’s concept and quality of life based on World Health Organization’s concept. The statistics used in this research were frequency, percentage, arithemetic mean, standard deviation, Pearson’s product - moment correlation coefficient.

The results revealed that

1. Service Quality of Student Affairs Service Division, overall and each perspective, was found at a high level,sorting from the highest to the lowest mean as follows : tangibles, responsiveness, assurance, reliability and empathy.

2. The undergraduate student’s quality of life at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, three perspectives
were found at a high level, sorting from the highest to the lowest mean as follows : social relationship, psychological domain,
physical domain and one perspective was found at a low level : environment.

3. The relationship between service quality of Student Affairs Service Division and the undergraduate student’s
quality of life at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus was found at .05 level of statistical significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย