การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุตประวีณ์ เบาเนิ้ด
วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) การปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ จำนวน 58 โรง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และครูปฏิบัติหน้าที่การสอน รวมทั้งสิ้น 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารตามแนวคิดของโธมัส และการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครใช้ทุกแบบ โดยที่ แบบการยอมให้อยู่ในระดับมาก แบบการร่วมมือ การประนีประนอม และการหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนแบบการเอาชนะอยู่ในระดับน้อย

2. การปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาแบบการร่วมมือ การประนีประนอม การหลีกเลี่ยง และ การยอมให้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาแบบการเอาชนะไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครู

 

THE CONFLICT MANAGEMENT OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND THE
PERFORMANCE OF TEACHERS UNDER BANGKOK METROPOLITAN

The purposes of this research were to find : 1) the conflict management of school administrators under Bangkok Metropolitan 2) the performance of teachers under Bangkok Metropolitan 3) the relationship between the conflict management of school administrators and the performance of teachers under Bangkok Metropolitan. The sample used in this research were 58 schools under Bangkok Metropolitan,Southern Krungthon group. The respondents were comprised of four persons in each schools : an administrator, deputy or a representative, and two teachers, 232 respondents in total. The research instrument was a questionnaire concerning conflict management based on Thomas and the performance of teachers based on the Secretariat Office of the Teachers Council. The statistical applied in data analysis were frequency, percentage, arithmetic
mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.


The results were found that :

1. The conflict management of school administrators under Bangkok Metropolitan were 5 models ; accommodation model was a high level, collaboration model, compromising model, avoiding model were at middle level and competition model was a low level.

2. The performance of teachers under Bangkok Metropolitan was a high level in overall and in each aspect.

3. The conflict management of school administrators in the collaboration model, compromising model, avoiding model and accommodation model were at relationship with the performance of teachers at .05 level of significance. While competition model did not relate with the performance of teachers.

Article Details

บท
บทความวิจัย