ความรับผิดชอบต่อสังคมกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา

Main Article Content

นิตยาภรณ์ บุญสวัสดิ์
ประเสริฐ อินทรรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา 2) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา สร้างจากการบูรณาการตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ ISO 26000 กับภาระงาน (Job Description) ของนักวิชาการศึกษา และคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา สร้างตามแนวคิดของวอลตัน (Walton) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน

2. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 6 ด้าน และระดับปานกลาง 2 ด้าน

3. ความรับผิดชอบต่อสังคมกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตามทัศนะของนักวิชาการศึกษา โดยทั้งภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านการกำกับดูแลองค์กรกับด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม และด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชนกับด้านเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

 

THE CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY AND QUALITY OF WORK LIFE OF PERSONNEL AS PERCEIVED BY EDUCATOR OF FACULTY OF MEDICINE SIRIRAJ HOSPITAL MAHIDOL UNIVERSITY

The purposes of this research were to find: 1) The corporate social responsibility of personnel as perceived by educator of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University; 2) The quality of work life of personnel as perceived by educator of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University; 3) The relationship between the corporate social responsibility and the quality of work life of personnel as perceived by educator of Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. The sample was 89 educators of the Education Division, departments and organizations at the Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. The instrument used in this research was the questionnaire concerning corporate social responsibility of personnel as perceived by educator of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University, based on the integration of corporate social responsibility concepts defined by ISO 26000, job description and quality of work life of personnel of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University as perceived by educator based on Walton concepts. The statistics used were frequency, percentage, Arithmetic Mean, Standard Deviation, Pearson’s product-moment correlation coefficient and content analysis.

The findings revealed as follows:

1. The overall corporate social responsibility of personnel as perceived by educator of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University was at the high level. When considered in each aspect, the five aspects were rated at a high level.

2. The overall quality of work life of personnel as perceived by educator of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University was at the high level. When considered in each aspect, the six aspects were rated at a high level and two aspects were at the moderate level.

3. There was a significant relationship between the corporate social responsibility and the quality of work life of personnel of Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University in overall and each aspects at .01 level of significance except the organizational governance and the constitutionalism, and the community involvement and development and the development of human capacities were significant relationship at .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย