การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการวางแผนพัฒนา 3 ปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ศุภกิจ เอี้ยวตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลแต่ละแห่งในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนา 3 ปี กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้นำ ซึ่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล และผู้นำชุมชน จำนวน 18 คน ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 396 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และค่า LSD (Fisher’s least – significant difference) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับมาก ( = 3.500, S.D. = 0.745) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ประชาชนที่มีเพศ เขต พื้นที่อยู่อาศัย และระดับการศึกษาที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .05 (P = 0.032, 0.032 และ 0.000 ตามลำดับ) โดยประชาชนเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมสูงกว่าประชาชนเพศชาย ประชาชนที่มีเขตพื้นที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลท่ามะกามีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมสูงกว่าประชาชน ที่มีเขตพื้นที่อาศัยอื่นๆ และประชนชนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมสูงกว่าประชาชนที่มีการศึกษาต่ำกว่าทุกกลุ่ม แต่ประชาชนที่มีอายุ สถานภาพ และระยะเวลาในการอยู่อาศัยในเทศบาลต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับมากกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลในเขตอำเภอท่ามะกา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.004, P = 0.143) ส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับมากกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลในเขตอำเภอท่ามะกา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.004, P = 0.143)

 

THE PARTICIPATION OF PEOPLE IN THE PLANNING FOR DEVELOPMENT OF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION OF MUNICIPALITY IN THA-MAKA SUB-DISTRICT KANCHANABURI DISTRICT

The objectives of this research were 1) to study the level of people’s participation in formulating the three-year development plan of local government organization of municipalities in Tha-maka District, Kanchanaburi Province, 2) to compare people’s participation in formulating the three-year local development plan of the local government organization classified by municipality, 3) to study the relationship between people’s knowledge of the local organization development plan and their participation in formulating the three-year development plan of the local government organization. The samples were composed of 18 leaders and 396 people who were 18 years-old and over in Thamaka District, Kanchaburi Province. The data were collected by a structured interview and a questionnaire. Statistical tools used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, LSD (Fisher’s least - significant difference), one-way analysis of variance and Pearson product moment correlation coefficient with the level of statistical significance at .01.

The research findings revealed that 1) people’s participation in formulating the three-year development plan of the local government organization of municipalities in Tha-maka District, Kanchanaburi Province was at a high level ( = 3.500, S.D. = 0.745). The results of the hypothesis testing were as follows: 1) gender, residential area and educational level significantly affected participation in formulating the three-year development plan of local the government organization (P= 0.032, 0.032 and 0.000, respectively). Females had a higher mean in participation than males. People who lived in Thamaka District had a higher mean in participation than people who lived in other residential areas and people who had above Bacherlor’s Degree had a higher mean in participation than people who had lower educational levels. However, age, marital status and period of living in different municipalities did not significantly affect the participation in formulating the local government development plan, and 2) people’s knowledge of formulating the three-year development plan of the local government organization was positively and significantly correlated with their participation at a high level (r = 0.000, P = 0.799).

Article Details

บท
บทความวิจัย