ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5

Main Article Content

ฐิติฌารัตน์ สุวรรณโนบล
สัมมา รธนิธย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 (2) ศึกษาระดับของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ที่มีค่าความเที่ยงตรงรายข้ออยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเป็น 0.98 กับบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 327 คนได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนทั้งสิ้น จำนวน 274 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 83.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป มีค่าสถิติที่เป็นความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยภาพรวมและรายด้านแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านคุณภาพของครูและบุคลากรมีค่า เฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกข้อของ แต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกข้อเช่นกัน

2. ระดับของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่โรงเรียนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนด้วยกิจกรรมต่างๆ มีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด ส่วนข้อการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับข้ออื่น ๆ

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 เรียงลำดับตามความสำคัญตามสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ ประกอบด้วย การบริหารการเปลี่ยนแปลงของ สถานศึกษา (X9) กระบวนการจัดการเรียนการสอน (X6) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน (X8) การบริหารสถานศึกษา เชิงกลยุทธ์ (X5) และระบบการสนับสนุนทางวิชาการ (X7) ตามลำดับ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 66.00 และมีความคลาดเคลื่อน มาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.321

3.1 สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y = 0.653 + 0.276X9+ 0.177 X6+ 0.116 X8 + 0.162X5 +0.126X7

3.2 สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ

Z =0.301Z9+ 0.172 Z6 +0.141Z8 +0.172Z5 +0.139Z7

 

FACTORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL ADMINISTRATION UNDER NAKHONRATCHASIMA PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 5

The purpose of this research was: 1) to study the level of the factors related to effectiveness of school administration ; 2) to study the level of effectivenessof the school administration; and 3) to study the factors in affecting the effectivenessof school administration under Nakhonratchasima Primary Education Service Area Office 5. 274 questionnaires with 0.98 reliability and 0.8-1.00 line items validity were sent out. 274 (83.79percentage) of them were completed. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The research results were as follows:

1. The factors was related to effectiveness of the school administration overall and in every aspect at the high level, moreover all items of each aspect were at the high level too.

2. The level of effectiveness of school administrationoverall and in every item was high.

3. The factors affecting toeffectivenessschool administration were consisted of : the change management (X9), learning and instruction process (X6), parents and community relation (X8), strategic administration (X5) and academic supporting system (X7) respectively which predicted to school effectiveness at 66.00 percentage with standard error ± 0.321

The regression equation or predicting equation in raw scores was the following:

Y = 0.653 + 0.276X9+ 0.177 X6+ 0.116 X8 + 0.162X5 +0.126X7

The regression equation in standard scores was the following:

Z =0.301Z9+ 0.172 Z6+0.141Z8 +0.172Z5 +0.139Z7

Article Details

บท
บทความวิจัย