ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ปราณี พึ่งฉิม
สัมมา รธนิธย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เปน็ การวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามกลุ่มโรงเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.8-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 โดยสัมภาษณผ์ ูบ้ ริหารสถานศึกษาจำนวน 10 ทา่ น ดว้ ยแบบสัมภาษณ ์ และใชแ้ บบสอบถามทำการเก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 248 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติที่เป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค LSD ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมและรายด้านและรายข้อของแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านและทุกข้อ โดยด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้ร่วมงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามกลุ่มโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันในด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง เมื่อพิจารณาความแตกต่างเป็นรายด้าน พบว่า (2.1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 2 มีการแสดงวิสัยทัศน์ในการทำงานอย่างชัดเจน มากกว่าทุกกลุ่มมีศักยภาพในการแก้ปัญหาด้วยความมั่นใจ มากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 1 กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 3 และกลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 5 และมีความเชื่อมั่นในความถูกต้องของความคิด และความศรัทธาในตนเองมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 3 (2.2) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 1 มองปัญหาอย่างเป็นระบบมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 3 บุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 2 มองปัญหาอย่างเป็นระบบมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 3 และกลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 4(2.3) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้ร่วมงาน บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 2 รู้ศักยภาพของผู้ร่วมงานแต่ละบุคคล มากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 1 กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 3 และกลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 5 และปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 1และกลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 5 บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 3 ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 1 (2.4) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง บุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 2 เป็นแบบอย่างในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 1 กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 3 และกลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 5 มีการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 1 กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 3 และกลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 4 มีการประเมิน และติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 3 กลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 4 และกลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 5 และมีการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่าทุกกลุ่มโรงเรียน บุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 5 มีกำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 3 บุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียน อบจ.พัฒนา 1 ประเมินและติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะมากกว่ากลุ่มโรงเรียน อบจ. พัฒนา 3 นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

 

TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF EDUCATION PERSONNEL IN SCHOOLS UNDER NONTHABURI PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

The purpose of this mixed method research was: 1) to study the level of education personnel’s transformational leadership; 2) to compare the level of education personnel’s transformational leadershipdivided by school groupsunder Nonthaburi Provincial Administrative Organization. Interviewing and questionnaires were used, 248 questionnaires with 0.96 reliability and 0.8-1.00 line items validity were sent out. 248(100percentage)of them were completed. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation,one way ANOVAand LSD technique was used when different finding.

The research results were as follows:

1. The education personnel’s transformational leadership was overall and in every aspect at the high level, moreover all items of each aspect were at the high level too.The individualized considerationaspectwas at the highest and the change managementaspect was at the lowest comparing with the other aspects.

2. The comparing of education personnel’s transformational leadership divided by school groupsoverall wasn’t different, but there were different in the individualized Influence aspect and the change management aspect. When determining in each aspect, the findings were :(2.1) the school group 2’s personnel showing more working vision clearly than every group, having more potential to solve the problems confidently than the school group 1,3 and 5’s personnel, and also showing their confident in the right idea and faith less than the school group’s 3 personnel in the individualized Influence’s aspect. (2.2) The school group 1’s personnel determine the problems systematically more than the school group 3’s personnel, and the school group 2’s personnel determine the problems systematically more than the school group 3 and 4’s personnel in the intellectual stimulation’s aspect. (2.3) The school group 2’s personnel know the staff’s individual potential more than the school group 1,3 and 5’s personnel and also work with others depending on individual different more than the school group 1 and 5’s personnel, and also work with others depending on individual different more than the school group 1 and 5’s personnel, and also the school group 3’s personnel work with others depending on individual different more than the school group 1 in theindividualized consideration’s aspect.(2.4) The school group 2’s personnel show the change respected model more than the school group 1,3 and 5’s personnel, have guidelines operating for change’s need more than the school group 1 3 and 4’s personnel, evaluate and follow up the change regularly more than the school group 3,4 and 5’s personnel, and also use the evaluation results for improvement the change successively more than every school group, the school group 5’ personnel have guidelines operating for change’s need more than the school group 3’s personnel, and also the school group 1’s personnel evaluate and follow up the change regularly more than the school group 3’s personnel in thechange management aspect , the others weren’t different statistically significant at 0.05.

Article Details

บท
บทความวิจัย