ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

อุษณี ชมบุญ
สัมมา รธนิธย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามระดับชั้นที่จัดการศึกษาและประสบการณ์ของผู้บริหาร ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.8-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 ทำการเก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 389 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติที่เป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

2. ผลการเปรียบเทียบระดับของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามระดับชั้นที่จัดการศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน โดยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบความแตกต่างกันในด้านความสำเร็จทางวิชาการ ในเรื่องความสามารถผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและประเมินกิจกรรมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองด้วยความเต็มใจ การรายงานผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบอย่างสม่ำเสมอ และการเชิญผู้ปกครองมาประชุมร่วมกับโรงเรียนทุกภาคเรียน และด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ในเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทั่วบริเวณโรงเรียน นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

3. ผลการเปรียบเทียบระดับของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ของผู้บริหารโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันเฉพาะด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบความแตกต่างกันในด้านความสำเร็จทางวิชาการในเรื่องการจัดงบประมาณสนับสนุนด้านวิชาการอย่างเพียงพอและด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ในเรื่องความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน และการมีวิธีการที่หลากหลายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงสถานศึกษาโดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 1-10 ปี และ 21 ปี ขึ้นไป มีความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวมากกว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 11-20 ปีนอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

 

THE SCHOOL ADMINISTRATION’S EFFECTIVENESS UNDER SURIN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 3

The purpose of this research was: 1) to study the level of school administration’s effectiveness; 2) to compare the level of school administration’s effectiveness under Surin Primary Education Service Area Office 3 divided by school works’ level and administrators’ experience. 341 questionnaires with 0.93 reliability and 0.8-1.00 line items validity were sent out. 341 (100 percentage) of them were completed. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-Test, one way ANOVA and LSD technique was used when different occurring. The research results were as follows:

1. The level of school administration’s effectiveness was overall and in every aspect at the high level. The parent participation aspect was at the highest and the administrators’ leadership aspect was at the lowest comparing with the other aspects.

2. The comparing of school administration’s effectiveness divided by school works’ level overall was different and also the parent participation aspect and the school environment aspect were different. When determining in each aspect, there were different in the academic achievement aspect in terms of ability to make the high learning achievement students and evaluating academic activities regularly, the parent participation aspect in terms of listening the parent opinion, sending the student learning report to their parent regularly, and also inviting parents come for school meeting every semester, and the school environment aspect in terms of arranging school environment to be learning center in school, and setting environment safety all over school area, the others weren’t different statistically significant at 0.05.

3. The comparing of school administration’s effectiveness divided by administrators’ experience overall weren’t different and each aspect was different only the administrators’ leadership aspect. When determining in each aspect,there were different in the academic achievement aspect in term of arranging school budget to support academic activities sufficiently, and the administrators’ leadership aspect in term of ability to solve internal school problems, and making various method for school improvement which 1-10 year and more than 21 years administrators’ experience has been their ability more than 11-20 years administrators’ experience, the others weren’t different statistically significant at 0.05.

Article Details

บท
บทความวิจัย