แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การปฏิบัติ

Main Article Content

ชัยโรจน์ รอดเกลี้ยง
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์นโยบาย แผน และยุทธศาสตร์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดล 2) ศึกษาสภาพ และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดลไปสู่การปฏิบัติ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของมหาวิทยาลัย คณะ สถาบัน ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 ราย และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis )

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการวิเคราะห์นโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลมีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคม สมัยศาสตราจารย์คลินิก ปิยะสกล สกลสัตยาทร เพื่อที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน” โดยขับเคลื่อนตามภารกิจหลักทั้ง 4 ด้านขององค์กร คือ งานวิจัยและพัฒนา การจัดการศึกษา งานบริการ วิชาการ และกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยมองว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย (USR) จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมหาวิทยาลัย ได้ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการ ของสังคม และในวาระของศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน จะขับเคลื่อนโดยใช้กลุ่มภารกิจ (Cluster) ที่มีอยู่ในส่วนงานและมองว่า เป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ

2) ผลการศึกษาสภาพ และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคม

- สภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยใช้องค์ความรู้ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาสังคม เพื่อให้ชุมชนสามารถตัดสินใจที่จะเลือกสรร สิ่งต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการ โดยมุ่งหวัง จะมุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคม มีการบริจาคผลิตภัณฑ์ ผลผลิตที่เป็นผลงาน ของส่วนงานให้แก่ชุมชน การออกหน่วยบริการ ทางการแพทย์ แก่ชุมชน ให้สามารถกระจายไปยังทุกจุดที่มหาวิทยาลัย พึงดำเนินการได้ เพื่อให้ได้รับบริการอย่างเท่าทียมกัน ในวิธีการต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นไปตามกรอบแนวคิดของความ รับผิดชอบต่อสังคมของ Phillip Kotler และ Nancy Lee (2005:23)

- แนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลให้ ความสำคัญต่อการดำเนินการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม จึงจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ขององค์กร และมีการเผยแพร่ไปยังส่วนงาน รวมทั้งมีการติดตาม และควบคุมในรูปแบบต่างๆ ตามแนวทางที่จะดำเนินการได้

ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ควรกำหนดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นวาระแห่งมหาวิทยาลัย มอบหมายให้ หน่วยงานดำเนินการเป็นการเฉพาะเพื่อทำให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน จัดแบ่งเวลาที่จะดำเนินการ ให้มีความเหมาะสมในแต่ละ หน่วยงานนั้นๆ และมีการเชื่อมโยง รวบรวมหน่วยงานในมหาวิทยาลัย คณะ สถาบัน ที่มีรายละเอียดการดำเนินการให้เป็นหมวดหมู่ อย่างเป็นรูปธรรม

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ : ควรกำหนดแผนงาน และเป้าหมาย ในการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ที่ชัดเจนและ ถ่ายทอดไปยังหน่วยงาน การสร้างเครือข่ายเพื่อให้มีความร่วมมือจากหน่วยงานโดยรอบเพื่อให้เกิดความเป็นพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน จัดเสวนา แลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องที่มาจากผลของการจัดโครงการกิจกรรมต่างๆ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและ องค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ประกาศยกย่องเชิดชูบุคคล หรือหน่วยงานที่มีการดำเนินการในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ตามโอกาส และตามสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม และมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนเวลา และงบประมาณ สำหรับหน่วยงานที่มีการดำเนินการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม

 

MAHIDOL UNIVERSITY SOCIAL RESPONSIBILITY STRATEGIC IMPLEMENTATION

This research examines the Social Responsibility Strategic Implementation of Mahidol University. The purpose of this study is to analyze the policies, plans, and strategies of social responsibility of Mahidol University, and investigates its circumstances and strategic implementations that can be build into practices. The research was conducted by content analysis of policies, plans, and strategies of social responsibility of Mahidol University, and in-depth interviews of 13 research participants who work at Mahidol University for a thorough understanding of the Strategic Implementation.

The findings of content analysis indicate that Mahidol University had worked towards the goal of being ‘The University for Public’ in the era of the Clinical Professor Piyasakol Sakolsatayadorn. It is believed that University Social Responsibility (USR) occurs only if it responds to the problems and the needs of society. The four main aspects of the Strategic Implementation are research and development, education, academic services, and creative activities. In contrast to the era of Professor Rajata Rajatanavin, Mahidol University Social Responsibility is mainly driven by duty and the cluster of organizations.

It is clear that Mahidol University gives attention to the implementation of social responsibility. This research suggests that social responsibility needs to be established as the agenda of the university. Knowledge transfer activities, the alliance of public and private agencies, rewards and financial support are important factors towards the success of Social Responsibility Strategic Implementation.

Article Details

บท
บทความวิจัย