ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา (English Program) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตภาคกลาง

Main Article Content

พิมพ์อภิญญา อรุณรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและข้อมูลทั่วไป 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนกับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 (English Program) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการในเขตภาคกลาง จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยอย่างง่ายกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา อยู่ในระดับปานกลาง( =3.534, SD.= .789) 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ (F= -.408, P-value = .684) รายได้ของครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน (F= 2.641, P-value = .024) มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยเขตพื้นที่การศึกษา (F= 3.630, P-value = .013) ต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา ระดับปานกลางและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .606, P-value
= .000) 4) ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลสองภาษา โดยสามารถอธิบายความผันแปรของความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ร้อยละ 36.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 157.480, P = .000, R2 = .368, Adj R2 = .365)

 

PARENTS’ SATISFACTION OF EDUCATION MANAGEMENT OF THE ENGLISH PROGRAM OF PUBLIC SCHOOLS UNDER OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSI IN CENTRAL AREA

PARENTS’ SATISFACTION OF EDUCATION MANAGEMENT OF THE ENGLISH PROGRAM OF PUBLIC SCHOOLS UNDER OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSI IN CENTRAL AREA the English program of the public schools in 2011 academic year. The data were collected by a questionnaire which had .979 confidence value. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analyses of variance (one-way ANOVA), Pearson product moment correlation coefficient and simple regression analysis with the level of statistical significance at .05.

The results of the research showed that :

1) the parents had participation in education management of the English program of public school at a moderate level ( =3.534, SD.= .789)

2) the personal factors such as gender (F= -.408 , P-value = .684), income of family (F= 2.641, P-value = .024) and the relationship between parents and students (F= 5.930, P-value = .001) affected parents’ satisfaction of education management significantly, and the education area factor (F= 3.630, P-value = .013) affected parents’ satisfactions in education management significantly

3)the participation of parents in education management was significantly correlated with parents’ satisfaction in education management in a positive direction (r= .606, P-value = .000), and

4) the participation of parents in education management could predict parents’ satisfaction of education management of the English program of public schools significantly and this predictor accounted for 36.8 percent of the satisfaction (F = 157.480, P = .000, R2 = .368, Adj R2 = .365).


Article Details

บท
บทความวิจัย