ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ของเทศบาลตำบล ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

บุษบา นักฟ้อน
สถาพร สันติบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของเทศบาลตำบล ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2)เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของเทศบาลตำบล ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนและการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน การสุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบล ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนทั้งสิ้น 396 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า t ค่า F – test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Fisher’s Least Significant Difference (LSD) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประชาชนในเทศบาลตำบล อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีความคาดหวังต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง

2. ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ต่างกัน มีความคาดหวังต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

THE EXPECTATION OF PEOPLE TO QUALITY OF LIFE DEVELOPMENT OF PEOPLEOF MUNICIPALITY SUBDISTRICT IN U-THONG DISTRICT, SUPHANBURI PROVINCE

The purposes of this research were 1) to study expectation of people to quality of life development of people of municipality subdistrict in U-Thong district, Suphanburi province and 2) to compare the expectation of people to quality of life development of people of municipality subdistrict in U-Thong subdistrict, Suphanburi province distinguish by gender,age, education, occupancy and information perceptions about community development. The sample was the residence people live in municipality subdistrict in U-Thong district, Suphanburi province consisted of 396 people. The data collected by questionnaire which had .966 confidence values. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analyses of variance and Fisher’s Least Significant Difference (LSD) by the level statistical significant at .05 was valuable specification.

The result of this research found the following:

1. The people in municipality subdistrict, U-Thong district, Suphanburi province was was expectation to quality of life development in “much” level.

2. The difference age, education, occupation and perceptions about community development was different expectation to quality of life development with significant at the level of .05.


Article Details

บท
บทความวิจัย