ทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนในประเทศเพื่อให้มีความสามารถเทียบเคียงกับนานาชาติได้ โดยอาศัยบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผล จากแนวคิดดังกล่าวทำให้บุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษา เนื่องจากเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร

ในการพัฒนาบุคลากรต้องเริ่มต้นที่ตัวผู้บริหาร โดยการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะเชิงเทคนิค ทักษะการนิเทศและการสอน ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะเชิงความคิดรวบยอด ทักษะเชิงธุรกิจ ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ

ทักษะทางการเมือง ทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ทักษะทางด้านอารมณ์ หรือ “ความฉลาดทางอารมณ์” ทักษะในการจัดการตนเอง ทักษะในการจัดการอาชีพ ทักษะในการวัดและประเมินผลงาน ทักษะการบริหารความเปลี่ยนแปลงทักษะการชักจูง และทักษะการวิจัย

 

SKILLS FOR SCHOOL ADMINISTRATOR IN 21ST CENTURY

Education is an important tool for national development to stay compatible with other countries, through skilled knowledge personnel and effective educational management process. The aforementioned reasons suggest that all educational personnel are important, especially the school administrators, since they have the most significant impact on school’s success or failure.

Personnel development should start from the administrators, by enhancing their skills, knowledge and capabilities to better perform the tasks. The administrative skills for 21st century are as follow: technical skills, supervision and instructional skills, interpersonal skills, conceptual skills, business skills, lifelong learning skills, computer skills, foreign language skills, political skills, resource management skills, emotional intelligence, self management skills, career management skills,


Article Details

บท
บทความวิชาการ