ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สงวน อินทร์รักษ์
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สภาพการบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ปัจจัยการบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทำให้ไม่สามารถจัดเวลาเรียนได้ครบตามหลักสูตร และ 3) ยุทธศาสตร์และแนวทางในการบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานีกลุ่มตัวอย่างกำหนดขึ้นโดยใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภทได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 265 โรง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการหรือครูฝ่ายวิชาการและศึกษานิเทศก์ 18 คน รวมทั้งสิ้น 548 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียนด้านการเรียนการสอน และ ด้านความมั่นคงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2. ปัจจัยการบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการเรียนการสอน และ
ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3. ยุทธศาสตร์และแนวทางในการบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วย 11 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการทั่วไป 2)ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาครูสู่มืออาชีพ 3)ยุทธศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีศักยภาพด้านการสอน 4) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการจัดหลักสูตรท้องถิ่นและการมีส่วนร่วม 5) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 6) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ที่เน้นความสนใจของผู้เรียน 7) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการบริหารจัดการเวลาเรียนตามความต้องการและบริบทของชุมชน 8) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 9) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา 10) ยุทธศาสตร์การบริหารโดยยึดผลผลิตเป็นสำคัญและ 11) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการนิเทศติดตามผล

 

STRATEGIC MANAGEMENT TO FULFILL THE INSTRUCTIONAL TIME REQUIREMENT
FOR THE CURRICULUM OF SCHOOL IN THE SPECIAL DEVELOPMENT ZONE OF
THREE SOUTHERN BORDER PROVINCES

The purposes of this study were to find; 1) the cercumstant of learning time management to fulfill the requirements for the curriculum of schools in the special development zone of three southern border provinces 2) the obstracle factors of learning time management to fulfill the requirements for the curriculum of schools. and 3) the strategic for learning
time management to fulfill the requirements for the curriculum of schools . The population of this study were school directors, teachers and school supervisors, the samples were 548 respondents which indicated by Krejcie and Morgan and used stratified Random Sampling Technique. The instruments for collecting the data were semi-structured interview and questionnaire. The statistics used for analyzing the data were percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis.

This findings of this research were as follows :

1. The cercumstant of learning time management to fulfill the requirements for the curriculum of schools composed of 4 area such as school management, student quality, instructional and stability and safety.

2. The obstracle factors of learning time management of in school to complete the course in a special development zone in three southern border provinces were school management, student quality, instruction, and stability and safety.

3. The strategices and guidlines for learning time management to full fill the time in curriculum were 11 strategies as in followings; 1) Allocating system 2) Inspiring teacher 3) Re-development 4) Open for Local curriculum and participating 5) Process learning integration 6) Learning-student centered 7) Arrangement of time teaching 8) Instructional for good character 9) Necochat education practice 10) Enhance recourses management and 11) Supervision.


Article Details

บท
บทความวิจัย