จริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

ชัยนนท์ นิลพัฒน์
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะ อนุกรรมการ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา 2) การยืนยันองค์ประกอบจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา และ 3) ผลแนวทางการพัฒนาจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา ค้นคว้าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือและจัดเก็บข้อมูล และขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและแนวทางการพัฒนา จากการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศจำนวน 183 เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา 3)กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการดำรงตน 2) หลักความเป็นธรรม                   3) หลักกัลยาณมิตร 4) หลักความรับผิดชอบ 5) หลักการรักษาระเบียบวินัย และ 6) หลักความเสมอภาค

2. การยืนยันองค์ประกอบจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาพบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และถูกต้องครอบคลุม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย

3. แนวทางการพัฒนาจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา คือ โดยหน่วยงานกระทรวงศึกษา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านจริยธรรม โดยมีการสนับสนุนให้มีการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หลักทศพิธราชธรรม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ด้านจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น

 

THE ETHICS ON PERSONNEL MANAGEMENT OF TEACHERS AND EDUCATIONAL
PERSONNEL IN SUB – COMMITTEE EDUCATION SERVICE AREA

The purposes of the research were to determine : 1) the components of the Ethics on Personnel Management of Teachers and Educational Personnel in sub- Committee Education Service Area, 2) the confirmation of the Ethics on Personnel Management of Teachers and Educational Personnel in sub- Committee Education Service Area, and 3) The development of the Ethics on Personnel Management of Teachers and Educational Personnel in sub- Committee Education Service Area. Its procedure included : 1) studying the variable concerning the ethics of teachers and personnel, 2) developing instrument and data collection and 3) analyzing data and confirming the appropriateness of component from statistical analyses by specialists and experts. The sample and the instruments used in the research included :1) 17 specialists and experts by semi-structured interviews; 2) 183 primary Educational Service Area Offices and the respondents were directors in primary education service area offices and teachers by using questionnaires , and 3) 5 specialists and experts by using opinionnaire. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis.

The findings of this research were as follows:

1. The components of the ethics for personal administration were 1) Existence 2) Fairness 3) True Friend 4) Responsibility 5) rule of law and 6) Equality

2. The confirmation of the ethics for personal administration was found propriety, feasibility, utility and accuracy with the theory, principles and concept of the research.

3. The guidelines for Developing the Ethics on Personnel Management of Teachers and Educational Personnel in sub- Committee Education Service Area were; the Ministry of Education or stake holder should encourage for ethics development based on the philosophy of sufficiency economy and good government ,royal virtues and the concerned organization should control ethics performance of their personnel.




Article Details

บท
บทความวิจัย