การจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษากับพัฒนาการ เด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

ตุ๊กตา สิมาเลาเต่า
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) พัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษากับพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรสาคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยด้านการบริหารและการจัดการศึกษาและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย 2 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 คน รวมทั้งสิ้น 84 โรงเรียน เท่ากับ 336 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. พัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและ
รายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. การจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษากับพัฒนาการเด็กปฐมวัยของ
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีความสัมพันธ์กันทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE ADMINISTRATION OF EARLY CHILDHOOD EDUCATION TOWARD STANDARD
FOR EDUCATIONAL AND MANAGEMENT AND EARLY CHILDHOOD DEVELOPMENT IN SCHOOLS UNDER SAMUTSAKHORN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

This research aimed to identify 1) the administration of early childhood education toward standard for educational administration of schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area Office; 2) early childhood development in schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area Office; and 3) the relationship between the administration of early childhood education toward standard for educational administration and early childhood development in schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area Office. The research instrument was a questionnaire regarding early childhood educational standards on educational administration and management and early childhood development in schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area. The respondents from 84 schools, consisted of 1 school directors, 2 early-childhood teachers, and a member of Basic Educational Institute Board, with the total of 336. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product-moment Correlation Coefficient.

The result revealed that

1. The administration of early childhood education toward standard for educational administration of schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area Office, overall and each perspective, was found at a high level.

2. Early childhood development in schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area Office, overall and each perspective, was found at a high level.

3. The relationship between the administration of early childhood education toward standard for educational administration and early childhood development in schools under Samutsakhorn Primary Educational Service Area Office, overall and each perspective, was found at .01 level of statistical significance.


Article Details

บท
บทความวิจัย