ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่เป็นอุปสรรคต่อการ ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล

Main Article Content

กาญจนาภรณ์ อิ่มใจจิตต์
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ทราบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล และ 2)ทราบแนวทางในการพัฒนาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2553 ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างเทียบจากตารางแสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan 1970 : 608-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง 125 เขต จากประชากร คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 183 เขต ด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งประเภท (stratified Random Sampling) โดยแบ่งตามเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งตั้งกระจายอยู่ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ แล้วสุ่มเขตพื้นที่การศึกษาตามสัดส่วน กำหนดให้ผู้ให้ข้อมูลหลักสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 4 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งสิ้น 500 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบและยืนยันผลการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ (Frequency)ร้อยละ (Percentage) ค่ามัชณิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard division) การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 9 ปัจจัยหลัก และ 3 ปัจจัยย่อย คือ 1) นิสัยไม่ดี ได้แก่ หลงตัวเอง ใจดำและเห็นแก่ตัว 2) ขาดทักษะมนุษยสัมพันธ์ 3) ขาดทักษะผู้นำ 4) ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ 5) ขาดทักษะการสื่อสาร 6) ขาดพลังสร้างสรรค์ 7) วิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน 8) ไม่กล้าหาญ และ 9) ขาดเป้าหมายการทำงาน

2. แนวทางในการพัฒนาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลมี 6 แนวทาง ได้แก่ 1) ให้การศึกษา 2) ให้ฝึกการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล 3) ให้ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร 4) ให้เป็นคนดี 5) ให้ตั้งเงื่อนไขและข้อจำกัดสำหรับให้ได้คนดีเพื่อมาเป็นผู้บริหาร 6) ให้ระบุคุณลักษณะผู้นำ (ปัจจัยภายในบุคคล)

 

THE OBSTRUCTION OF PERSONAL FACTORS OF THE DIRECTOR OF PRIMARY
EDUCATION SERVICE AREA OFFICES FOR THE EFFECTIVENESS OF POLICY
IMPLEMENTATION

The purposes of the research were (1) to determine the personal factors of Primary Education Service Areas,(2) directions for the effective policy implementation, and (3) to propose the guidelines to improve personal factors of Primary Education Service Areas Directors for the effective policy implementation. The research was carried out through three steps as follows (1) setting research framework based on personal factors of the Director of Primary Education Areas, concept and theory, (2) factor analysis, and (3) focus group discussions among Directors of Education Areas.The data were collected from 500 persons from 183 education areas. The instruments for collecting the data were the opinionnaire and focus group discussion. The statistics used for the data analysis were frequency, percentage,arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis.

The findings were as follows:

1. Personal factors of the Director of Primary Education Service Area Offices for the Effectiveness of Policy Implementation consisted of nine factors and three sub-factors which were (1) bad habits: narcissism, callousness and selfishness (2) lack of interpersonal skills (3) lack of leadership skills (4) lack of emotional maturity (5) lack of communication skills (6) lack of creativity (7) unclear vision, (8) not being brave and (9) lack of career goals.

2. The guideline to improve personal factors of Primary Education Service Areas Directors for the Effectiveness Policy Implementation include six categories: (1) testify study (2) participation in training (3) attend academic conferences and seminars (4) specify leader quality (5) set conditions and the limitation of the leader (6) study a person who will be the executive.


Article Details

บท
บทความวิจัย