ประสิทธิผลสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรทางการศึกษา

Main Article Content

กรชนก แย้มอุทัย
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบประสิทธิผลสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรทางการศึกษา เมื่อจำแนกตามสถานภาพ 3)เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลสถานศึกษา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งหมด 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ตามแนวคิดของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา ต่อมาผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ต่อมาผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น

2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรทางการศึกษา เมื่อจำแนกตามสถานภาพพบว่าไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน พบว่า ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งปัจจุบันแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 โดยประสบการณ์ ไม่เกิน 5 ปี แตกต่างกับประสบการณ์ 16 – 20 ปี

3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลสถานศึกษา พบว่า 1) ควรให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและให้แสดงออกทั้งด้านความคิดและการกระทำ ครูต้องรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน การระดมทรัพยากร นำเอาข้อสรุปนั้นนำกลับไปพัฒนาเป็นแนวทางการสอนที่มีคุณภาพ 2) ควรให้ผู้เรียน เป็นคนที่ใฝ่รู้ มีนิสัยรักการอ่านและใช้เทคโนโลยีเพื่อการหาความรู้เพิ่มเติมให้กับตนเอง ประกอบด้วย การมอบหมายภาระงาน การสร้างนักเรียนให้มีนิสัยรักการอ่านจากสิ่งที่สนใจ การส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ 3) ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้ความรู้ทางด้านหลักภาษา การพัฒนาการสร้างกระบวนการคิดรวบยอด การให้ผู้เรียนทำโครงงานของนักเรียน การฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ กระบวนการทำงานโดยให้ปฏิบัติในสภาพจริง การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์

 

THE SCHOOL EFFECTIVENESS AS PERCIEVED BY THE EDUCATIONAL PERSONNEL

The purposes of this independent study were to identity 1) the school effectiveness as perceived by educational personnel 2) the comparison of the effectiveness of education as perceived by educational personnel when classifying the personnel’s status 3) the guideline of school effectiveness development. The populations in this research were educational personnel in schools under Bang Sue Educational Department Bangkok, in totally 186. The research instrument was a questionnaire about the school effectiveness based on the concept of Office for National Education Standards and Quality Assessment. Statistics in this study included frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation t test, and F test

The findings were as follow;

1. The overall findings of the school effectiveness as perceived by the educational personnel were high level. Sort by descending order in arithmetic (1) the development of internal quality assurance by school (2) the school efficiency and development (3) the effectiveness of student – centered – learning (4) the school improvement that aimed to raise and maintain the standards to develop towards excellence with the educational reform (5) the performance of special projects to promote the school (6) the development of school strengths which reflect the school uniqueness (7) the development were success in philosophy, vision, mission and objectives of the school (8) learners had good health and mental (9) learners had moral principles, ethics and desirable values (10) the learners had achievement (11) being the learning learners (12) learners were thinkers

2. The school effectiveness as perceived by educational personnel when classified by status: sex, age, the highest educational level, experience and the position were indifference. The experience of current position was different at the significant level of .05

3. There are 3 guidelines for the school effectiveness development. They were as follow; 1) Improving the achievement of learners include (1.1) to encourage learners to share their opinions (1.2) teacher should listen the learners’ opinions more (1.3) to gather the instructional resources (1.4) to improve the learning process 2) Enhancing the learning learners, good readers, and using technology (2.1)to assign the learners read interesting articles more (2.2) to promote the learners to get knowledge from learning centers 3) Learners were systematical thinking (3.1) to design the learning activities emphasize grammatical knowledge (3.2) to increase the conceptual skill process (3.3) to assign the learners do projects by themselves (3.4) to practice the systematical thinking more (3.5) to train the working process in the authentic environment (3.6) to arrange the classroom
atmosphere for supporting the creativity and critical thinking.


Article Details

บท
บทความวิจัย