หน่วยตัวแทนและวิธีการของการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนไทย

Main Article Content

Phaiboon Phowungprasit

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน่วยตัวแทนและวิธีการของการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนไทย    ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนไทย จำนวน 67,070,000 คน ซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างขึ้นมาศึกษา จำนวน 2,000 คน   ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มและแบบโดยบังเอิญประกอบกัน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนไทย   สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมทั้งประเทศ ประชาชนไทยได้รับการกล่อมเกลาทางการเมืองด้วยหน่วยตัวแทน คือ สื่อสารมวลชน ในระดับที่มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับเมื่อจำแนกตามลักษณะของพื้นที่ คือ เทศบาลและ อบต.   และยังสอดคล้องกับเมื่อจำแนกตามภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และ กทม.      ในขณะที่วิธีการของการกล่อมเกลาทางการเมืองที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด คือ การเชื่อมโยงจากค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม  ซึ่งสอดคล้องกับเมื่อจำแนกตามลักษณะของพื้นที่และจำแนกตามภูมิภาค เช่นเดียวกัน

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

Phaiboon Phowungprasit, ภาควิชาพื้นฐานทั่วไป สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร

2538 จบ ป.ตรี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

2540 จบ ป.โท คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

2549 จบ ป.เอก คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

2556 ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

References

เอกสารอ้างอิง

กนลา ขันทปราบ. (2527). “แนวทางที่ใช้ในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ.” ใน ระบบการเมือง

เปรียบเทียบ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดุษฎี สุทธปรียาศรี และวรรณา ปูรณโชติ. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องกระบวนการปลูกฝังค่านิยม

และวิถีชีวิตประชาธิปไตยในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม

และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.

ปรีชา ธรรมวินทร. (2532). การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยผ่านหนังสือเรียน : วิเคราะห์หนังสือเรียน

ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และสายทิพย์ สุคติพันธ์. (2526). การเมืองของเด็ก กระบวนการสังคมประกิต

ทางการเมือง. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2531). ระบบการเมือง : ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

เพ็ญศรี จุลกาญจน์. (2541). การผลิตซ้ำอุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทและสถานภาพของหญิงและชาย.

วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ, คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธิ์. (2555). “การผลิตซ้ำอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ภายในครอบครัวชาวไทย

เชื้อสายจีนแต้จิ๋วในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีเพลงกล่อมเด็ก.” ใน วารสารมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับพิเศษการประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัย

มหาสารคาม ครั้งที่ 8. ปีที่ 31 (ฉบับพิเศษ), 270 – 277.

Almond, Gabriel & Powell, Bingham. (1966). Comparative Politics : A Developmental Approach.

Boston : Little, Brown and Company.

Chaffee, Steven. (1977). “Mass Communication in Political Socialization.” in Handbook of Political

Socialization : Theory and Research. New York : The Free Press.

Dawson, Richard & Prewitt, Kenneth. (1969). Political Socialization. Boston : Little, Brown.

Easton, David & Dennis, Jack. (1969). Children in the Political System. New York : McGraw Hill.

Langton, Kenneth. (1969). Political Socialization. London : Oxford University Press.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Edition.